วันพฤหัสบดีที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

พาณิชย์บูรณาการความร่วมมือรัฐ-สถาบันการศึกษา-เอกชน

ส่งเสริมการตลาดสินค้านวัตกรรมยางพาราแข่งขันตลาดโลก


กระทรวงพาณิชย์เดินหน้าขับเคลื่อนการพัฒนานวัตกรรมให้สินค้าจากยางพาราเต็มสูบบูรณาการความร่วมมือหน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา และภาคเอกชนเน้นต่อยอดการวิจัยควบคู่กับการสร้างมูลค่าเพิ่มเชิงพาณิชย์เพื่อสร้างความหลากหลายและโดดเด่นให้สินค้าจากยางพาราไทยเมื่อต้องแข่งขันในตลาดโลก



นายกีรติ รัชโน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า สินค้ายางพาราของไทยได้รับการยอมรับในด้านคุณภาพ และมาตรฐานจากทั่วโลกซึ่งไทยเป็นผู้ส่งออกยางแปรรูปอันดับ 1 ของโลก โดยประเทศไทยมีการส่งออกยางและ ผลิตภัณฑ์ยางเฉลี่ยปีละ 590,000 ล้านบาท ในปี 2565 ไทยส่งออกคิดเป็นมูลค่า 658,000 ล้านบาท และในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2566 มีมูลค่า 200,000 ล้านบาท ตลาดส่งออกที่สำคัญ คือ จีน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น อย่างไรก็ดี กระทรวงพาณิชย์ยังคงเดินหน้าผลักดันผู้ประกอบการไทยให้สร้างขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการค้าระหว่างประเทศ 

โดยสร้างมูลค่าและสร้างความหลากหลาย และเพิ่มนวัตกรรมให้แก่สินค้าผลิตภัณฑ์ยางการพัฒนาและวิจัยนวัตกรรมยางมีบทบาทสำคัญ ในการขยายมูลค่าส่งออกสินค้าผลิตภัณฑ์ยางจากประเทศไทยซึ่งสถาบันวิจัยและพัฒนานวัตกรรมยางพารา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นสถาบันที่มีความแข็งแกร่งด้านการพัฒนาวิจัยยางพารา


โดยเฉพาะ จึงเป็นหน่วยงานที่จะเข้ามาเติมเต็มด้านการศึกษา วิจัย พัฒนา และเพิ่มประสิทธิภาพของยางพาราธรรมชาติ เพื่อนำไปต่อยอดสินค้าผลิตภัณฑ์ยางพาราหลากหลายประเภทให้แก่ผู้ประกอบการไทย รวมถึงสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยจะเข้ามามีบทบาทเป็นผู้เชื่อมโยงเครือข่ายอุตสาหกรรมยางพาราไทย โดยมีกระทรวงพาณิชย์พร้อมสนับสนุนด้านการตลาดอีกด้วย

นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า หนึ่งในพันธกิจสำคัญที่ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศมุ่งดำเนินการ คือ การพัฒนาและส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศให้แก่สินค้าเกษตรของไทย ซึ่งยางพาราเป็นหนึ่งในสินค้าเกษตรที่มีความสำคัญส่งผลต่อ เศรษฐกิจของไทยโดยรวม

ดังนั้นการขยายช่องทางตลาดและการส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มแก่สินค้ายางพาราของไทย รวมทั้งการพัฒนาศักยภาพและส่งเสริม ผู้ประกอบการไทยในการประกอบธุรกิจระหว่างประเทศ โดยใช้กลยุทธ์การบูณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน พันธมิตร จะช่วยผลักดันให้เกิดการขยายช่องทางการค้าตลอดจนลดปัญหาอุปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศ นำไปสู่การขับเคลื่อนด้วยยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิต

ความร่วมมือในครั้งนี้ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ สถาบันวิจัยและพัฒนานวัตกรรมยางพารา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กำหนดจัดโครงการส่งเสริมการตลาดสินค้านวัตกรรมยางพารา โดยมีแผนดำเนินการในช่วงเดือนพฤษภาคม-กันยายน 2566 ซึ่งมี 3 กิจกรรมภายใต้โครงการ ประกอบด้วย

• กิจกรรม Natural Rubber Innovation Matching Day ครั้งที่ 1 ซึ่งจัดเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2566 

ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีผู้ประกอบการเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 11 บริษัท 19 ราย มีการเข้ารับคำปรึกษาเชิงลึกกับนักวิจัย จำนวน 11 คู่ ตัวอย่างผลงานนวัตกรรมยางพาราที่น่าสนใจ อาทิ วัสดุดูดซับแรงกระแทกผลิตจากยางพารา โฟมยางที่ผสมซีโอไลต์เพื่อลดการลามไฟ กระบวนการเตรียมยางรีไซเคิลหรือยางดีวัลคาไนซ์จากเศษถุงมือยางธรรมชาติ อุปกรณ์จำลองทางการแพทย์สำหรับ ฝึกฉีดยาอินซูลิน เป็นต้น

• งานแถลงข่าวและพิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 13 กรกฎาคม 2566 

ณ ห้องบุรฉัตรไชยากร ชั้น 4 สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์

• กิจกรรม Natural Rubber Innovation Matching Day ครั้งที่ 2 มีกำหนดจัดในวันที่ 31 สิงหาคม 2566 

ณ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพฯ

โดยเป้าหมายสำคัญในการดำเนินโครงการฯจะก่อให้เกิดการ บูรณาการอย่างเต็มรูปแบบระหว่างหน่วยงาน ภาครัฐ สถาบันการศึกษา และภาคเอกชน เพื่อให้สินค้านวัตกรรมยางพาราจากประเทศไทยเป็นที่รู้จักทั้งในประเทศ และต่างประเทศ รวมทั้งเกิดการเชื่อมโยงเครือข่ายเกษตรกร ผู้ประกอบการ นักลงทุน นักวิจัย และภาครัฐ ส่งเสริม 

การพัฒนาต่อยอดผลงานวิจัย สร้างมูลค่าเพิ่มเชิงพาณิชย์ อีกทั้งยังส่งเสริมการใช้ยางพาราในประเทศให้มากขึ้น เพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร รวมถึงลดภาระด้านการลงทุนและประหยัดเวลาในการวิจัยและพัฒนาสินค้าของผู้ประกอบการไทย โดยสามารถนำงานวิจัยยางพารามาต่อยอด สร้างความหลากหลาย และผลิตเป็นสินค้าเชิงพาณิชย์ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

 
สำหรับผู้ประกอบการและบริษัทที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม Natural Rubber Innovation Matching Day
ครั้งที่ 2 ในวันที่ 31 สิงหาคม 2566 เวลา 09.30-16.30 น. ณ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ถ.รัชดาภิเษก ซึ่งเป็นกิจกรรมการจับคู่เจรจาการค้าหรือขอรับการปรึกษาเพื่อเชื่อมโยงธุรกิจกับนักวิจัย / ผลงานวิจัย เพื่อนำไปผลิตและทำตลาดติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่ นายขวัญ ชโลธรพิเศษ โทรศัพท์ 08 9519 5666

ข่าวประชาสัมพันธ์

รองผู้ว่าฯปทุมธานี ชวนพี่น้องชาวปทุมธานี ออกกำลังกายและเล่นกีฬาพร้อมนับแคลอรี

 ผ่าน แอปพลิเคชัน Calories Credit Challenge  “CCC”   วันนี้ (25 ก.ค.67) เวลา 15.30 น. ที่ โรงแรมทินิดี โฮเต็ล บางกอก กอล์ฟ คลับ จังหวัดปทุมธ...

โวยวายดอทคอม