วันพุธที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

DITP นำทัพนักออกแบบไทยบุกมิลานดีไซน์วีค จัดนิทรรศการ Slow Hand Design 2023

โชว์งานออกแบบยอดเยี่ยมและสินค้า BCG สุดล้ำ ผลิตจากวัสดุเพื่อความยั่งยืนอวดสายตาวงการออกแบบโลก

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ นำทัพนักออกแบบเข้าร่วมนิทรรศการ Slow Hand Design ในงาน Milan Design Week 2023 ณ เมืองมิลาน สาธารณรัฐอิตาลี นำเสนอผลงานของ นักออกแบบไทย 33 แบรนด์ ที่มีความโดดเด่นด้านการใช้วัสดุเพื่อความยั่งยืนสอดรับกับแนวคิดเศรษฐกิจ BCG และเทรนด์งานออกแบบโลกที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า “งาน Milan Design Week นับเป็นจุดหมายปลายทางสำคัญของผู้คนในแวดวงการออกแบบทั่วโลก ทั้งอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ การตกแต่งภายใน ไลฟ์สไตล์ และนวัตกรรมการออกแบบ รวมถึงสื่อมวลชนต่างๆ จะมารวมตัวกันที่มิลานอย่างคึกคัก เพื่ออัพเดตเทรนด์สินค้าและความก้าวหน้าของอุตสาหกรรมการออกแบบจากทั่วโลก รวมถึงการแสดงนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตในอนาคต โดย DITP ได้นำสินค้าไทยเข้าร่วมงาน Milan Design Week มาอย่างต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 11 ดำเนินงานโดยสำนักส่งเสริมนวัตกรรมและสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อการค้า ภายใต้ชื่อนิทรรศการ Slow Hand Design เพื่อเป็นการแสดงศักยภาพและสร้างการจดจำสินค้าไทยในเวทีการออกแบบระดับโลกอย่างต่อเนื่อง”


“ในช่วงแรก ช่วงปี 2554 – 2559 เนื้อหาของนิทรรศการจะเน้นนำเสนอจุดเด่นของงานออกแบบไทยที่ใช้ความประณีตของฝีมือ งานหัตถกรรมที่สร้างมูลค่าเพิ่มด้วยภูมิปัญญา ศิลปวัฒนธรรมมีการพัฒนาอัตลักษณ์ไทยสู่ความเป็นสากล ต่อมาตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมาเน้นนำเสนอสินค้าที่มีนวัตกรรมความคิดสร้างสรรค์

ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สินค้าที่มีแนวคิด BCG Economy และสินค้าที่มีแนวคิดการออกแบบมุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDG) เพื่อเผยแพร่ศักยภาพและสร้างการยอมรับในสินค้าไทย ตลอดจนส่งเสริมภาพลักษณ์แบรนด์สินค้าไทยที่มีการออกแบบดีเพื่อนำไปสู่โอกาสทางการค้าในระดับสากล เป็นเรื่องน่ายินดีที่ผู้ประกอบการและ

นักออกแบบไทยได้ตื่นตัวกับนโยบายส่งเสริมสินค้า BCG ของกระทรวงพาณิชย์ เกิดการค้นคว้าทดลอง พัฒนานวัตกรรมวัสดุและสินค้าได้อย่างน่าสนใจ มีมาตรฐานการออกแบบที่ดีเป็นที่ยอมรับในระดับสากล โดยมีการ

คัดสรรผลงานที่ได้รับรางวัลการออกแบบยอดเยี่ยมหรือรางวัล DEmark รางวัล PM Award รวมทั้งผลงาน

นักออกแบบรุ่นใหม่จากโครงการ Designers’ Room & Talent Thai นำมาจัดแสดงในงาน” นายภูสิตกล่าว

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ทุกอุตสาหกรรมต้องปรับตัวรวมถึงอุตสาหกรรมการออกแบบของไทยด้วย “ในช่วงการแพร่ระบาด ผู้ประกอบการ SMEs ผู้ผลิต และนักออกแบบไทยได้ตระหนักถึงข้อได้เปรียบในการมีกำลังการผลิตขนาดเล็ก ซึ่งทำให้มีความคล่องตัวและสามารถปรับตัวได้เร็ว ในช่วงล็อคดาวน์พบว่าหลายๆ แบรนด์มีการทดลอง พัฒนาวัสดุใหม่ๆ จากเศษวัสดุเหลือใช้ทั้งจากภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งกระบวนการผลิตโดยช่างฝีมือแทนเครื่องจักร ซึ่งเป็นจุดเด่นของสินค้ากลุ่ม

หัตถอุตสาหกรรมจากประเทศไทย ทำให้สามารถพัฒนาตัวอย่างสินค้าได้รวดเร็ว มีการนำการออกแบบหมุนเวียน Circular Design มาใช้รวมทั้งกระบวนการจัดการขยะและการเลือกใช้วัสดุที่ถูกนำมารีไซเคิลและอัพไซเคิล เป็นสินค้าอย่างสร้างสรรค์ ทำให้ได้สินค้าที่ตอบโจทย์เทรนด์โลก มีรูปแบบน่าสนใจและมีกระบวนการผลิต

ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าที่เคย” นายภูสิตกล่าวเสริม

นิทรรศการ Slow Hand Design 2023 จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “Not A Virgin -  materials through Thailand’s innovative designs that sustain the global environment” จัดแสดงระหว่างวันที่

18 - 23 เมษายน 2566 ที่ Superstudio Piu ในย่านTortona

ณ เมืองมิลาน สาธารณรัฐอิตาลี รวบรวมผลงานการออกแบบ ที่โดดเด่นเรื่องกระบวนการออกแบบหมุนเวียน มีการใช้วัสดุ เพื่อความยั่งยืน สอดรับ กับแนวคิด BCG Economy Model โดยมี ทั้งสินค้า เฟอร์นิเจอร์ สินค้าไลฟ์สไตล์และวัสดุตกแต่งบ้าน มาจัดแสดงโดยจำลองรูปแบบการใช้ชีวิตและการตกแต่งที่อยู่อาศัยในอนาคตที่วัสดุในการผลิตสินค้าทั้งหมดล้วนทำมาจากวัสดุรีไซเคิลและอัพไซเคิล ซึ่งเป็นการสร้างแรงกระเพื่อมต่อเนื่องต่อยอดจากผลตอบรับจากนิทรรศการ


ปีที่ผ่านมาที่ได้รับความสนใจอย่างล้นหลามโดยผู้เข้าชมงานให้ความสนใจวัสดุกลุ่มนี้เป็นจำนวนมาก สำหรับผลการดำเนินงานในปีนี้ ตลอดระยะเวลาที่จัดแสดงนิทรรศการตั้งแต่วันที่ 18 - 23 เมษายน 2566 มีผู้เข้าชมงานกว่า 8,025 ราย โดยผู้เข้าชมงานส่วนใหญ่เป็นนักออกแบบ สถาปนิก อินทีเรีย และตัวแทนจำหน่ายสินค้าแนวดีไซน์และสื่อมวลชนจากทั่วโลก โดยตัวอย่างผลงานแบรนด์ไทยที่ได้รับความสนใจ เช่น

- วัสดุ Vegan Leather จากแบรนด์ BRAVESHOES ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมแฟชั่นและ

ไลฟ์สไตล์ให้เป็น Circular Economy ใช้หลักการ BCG แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมให้ได้มากที่สุด โดยเลือกใช้วัสดุจากขยะทางการเกษตร เช่น เปลือกมะนาว และเปลือกกล้วยที่มีนวัตกรรมการผลิต โดยมีชาวบ้านจากชุมชนต่างๆในหลายจังหวัดเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการผลิต และเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างมูลค่าเพิ่มและลดขยะทางการเกษตรในประเทศไทย ได้รับความสนใจจาก KARIM RASHID STUDIO เพื่อนำไปเป็นวัสดุหุ้มเฟอร์นิเจอร์ นอกจากนี้ตัวVegan Leather วัสดุที่ใช้ในการผลิตรองเท้ายังได้รับความสนใจจากนักออกแบบแฟชั่นในเมืองมิลานเป็นอย่างมาก

- วัสดุ recycle yarn แบรนด์ aibelle ได้รับความสนใจจากทีมดีไซเนอร์ จาก Martin Margiela เพื่อพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์กระเป๋า

- สินค้าไลฟ์สไตล์จาก แบรนด์ Sonite ผลิตจากวัสดุเหลือใช้จากการเกษตร แกลบข้าว ใยมะพร้าว กะลามะพร้าว และแผ่นบุผนังช่วยดูดซับเสียงผลิตจากผักตบชวา ได้รับความสนใจจากนักออกแบบ สถาปนิก ภายในงานเป็นอย่างมากมีความต้องการอยากร่วมมือ สั่งซื้อตลอดช่วงที่จัดแสดง

- ผลงาน textile จาก DEESAWAT x ausara surface and textile ได้รับความสนใจจากนักออกแบบเครื่องจาก bulgari เพื่อพัฒนาเป็นเครื่องประดับ

นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า “งาน Milan Design Week นับเป็นจุดหมายปลายทางสำคัญของผู้คนในแวดวงการออกแบบทั่วโลก ทั้งอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ การตกแต่งภายใน ไลฟ์สไตล์ และนวัตกรรมการออกแบบ รวมถึงสื่อมวลชนต่างๆ จะมารวมตัวกันที่มิลานอย่างคึกคัก เพื่ออัพเดตเทรนด์สินค้าและความก้าวหน้าของอุตสาหกรรมการออกแบบจากทั่วโลก รวมถึงการแสดงนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตในอนาคต โดย DITP ได้นำสินค้าไทยเข้าร่วมงาน Milan Design Week มาอย่างต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 11 ดำเนินงานโดยสำนักส่งเสริมนวัตกรรมและสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อการค้า ภายใต้ชื่อนิทรรศการ Slow Hand Design เพื่อเป็นการแสดงศักยภาพและสร้างการจดจำสินค้าไทยในเวทีการออกแบบระดับโลกอย่างต่อเนื่อง”

“ในช่วงแรก ช่วงปี 2554 – 2559 เนื้อหาของนิทรรศการจะเน้นนำเสนอจุดเด่นของงานออกแบบไทยที่ใช้ความประณีตของฝีมือ งานหัตถกรรมที่สร้างมูลค่าเพิ่มด้วยภูมิปัญญา ศิลปวัฒนธรรมมีการพัฒนาอัตลักษณ์ไทยสู่ความเป็นสากล ต่อมาตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมาเน้นนำเสนอสินค้าที่มีนวัตกรรมความคิดสร้างสรรค์

ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สินค้าที่มีแนวคิด BCG Economy และสินค้าที่มีแนวคิดการออกแบบมุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDG) เพื่อเผยแพร่ศักยภาพและสร้างการยอมรับในสินค้าไทย ตลอดจนส่งเสริมภาพลักษณ์แบรนด์สินค้าไทยที่มีการออกแบบดีเพื่อนำไปสู่โอกาสทางการค้าในระดับสากล เป็นเรื่องน่ายินดีที่ผู้ประกอบการและนักออกแบบไทยได้ตื่นตัวกับนโยบายส่งเสริมสินค้า BCG ของกระทรวงพาณิชย์ เกิดการค้นคว้าทดลอง พัฒนานวัตกรรมวัสดุและสินค้าได้อย่างน่าสนใจ มีมาตรฐานการออกแบบที่ดีเป็นที่ยอมรับในระดับสากล โดยมีการ

คัดสรรผลงานที่ได้รับรางวัลการออกแบบยอดเยี่ยมหรือรางวัล DEmark รางวัล PM Award รวมทั้งผลงาน

นักออกแบบรุ่นใหม่จากโครงการ Designers’ Room & Talent Thai นำมาจัดแสดงในงาน” นายภูสิตกล่าว

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ทุกอุตสาหกรรมต้องปรับตัวรวมถึงอุตสาหกรรมการออกแบบของไทยด้วย “ในช่วงการแพร่ระบาด ผู้ประกอบการ SMEs ผู้ผลิต และนักออกแบบไทยได้ตระหนักถึงข้อได้เปรียบในการมีกำลังการผลิตขนาดเล็ก ซึ่งทำให้มีความคล่องตัวและสามารถปรับตัวได้เร็ว ในช่วงล็อคดาวน์พบว่าหลายๆ แบรนด์มีการทดลอง พัฒนาวัสดุใหม่ๆ จากเศษวัสดุเหลือใช้ทั้งจากภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งกระบวนการผลิตโดยช่างฝีมือแทนเครื่องจักร ซึ่งเป็นจุดเด่นของสินค้ากลุ่มหัตถอุตสาหกรรมจากประเทศไทย ทำให้สามารถพัฒนาตัวอย่างสินค้าได้รวดเร็ว มีการนำการออกแบบหมุนเวียน Circular Design มาใช้รวมทั้งกระบวนการจัดการขยะและการเลือกใช้วัสดุที่ถูกนำมารีไซเคิลและอัพไซเคิล เป็นสินค้าอย่างสร้างสรรค์ ทำให้ได้สินค้าที่ตอบโจทย์เทรนด์โลก มีรูปแบบน่าสนใจและมีกระบวนการผลิตที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าที่เคย” นายภูสิตกล่าวเสริม





นิทรรศการ Slow Hand Design 2023 จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “Not A Virgin -  materials through Thailand’s innovative designs that sustain the global environment” จัดแสดงระหว่างวันที่18 - 23 เมษายน 2566 ที่ Superstudio Piu ในย่านTortona

ณ เมืองมิลาน สาธารณรัฐอิตาลี รวบรวมผลงานการออกแบบ ที่โดดเด่นเรื่องกระบวนการออกแบบหมุนเวียน มีการใช้วัสดุ เพื่อความยั่งยืน สอดรับ กับแนวคิด BCG Economy Model โดยมี ทั้งสินค้า เฟอร์นิเจอร์ สินค้าไลฟ์สไตล์และวัสดุตกแต่งบ้าน มาจัดแสดงโดยจำลองรูปแบบการใช้ชีวิตและการตกแต่งที่อยู่อาศัยในอนาคตที่วัสดุในการผลิตสินค้าทั้งหมดล้วนทำมาจากวัสดุรีไซเคิลและอัพไซเคิล ซึ่งเป็นการสร้างแรงกระเพื่อมต่อเนื่องต่อยอดจากผลตอบรับจากนิทรรศการ

ปีที่ผ่านมาที่ได้รับความสนใจอย่างล้นหลามโดยผู้เข้าชมงานให้ความสนใจวัสดุกลุ่มนี้เป็นจำนวนมาก สำหรับผลการดำเนินงานในปีนี้ ตลอดระยะเวลาที่จัดแสดงนิทรรศการตั้งแต่วันที่ 18 - 23 เมษายน 2566 มีผู้เข้าชมงานกว่า 8,025 ราย โดยผู้เข้าชมงานส่วนใหญ่เป็นนักออกแบบ สถาปนิก อินทีเรีย และตัวแทนจำหน่ายสินค้าแนวดีไซน์และสื่อมวลชนจากทั่วโลก โดยตัวอย่างผลงานแบรนด์ไทยที่ได้รับความสนใจ เช่น

- วัสดุ Vegan Leather จากแบรนด์ BRAVESHOES ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมแฟชั่นและ

ไลฟ์สไตล์ให้เป็น Circular Economy ใช้หลักการ BCG แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมให้ได้มากที่สุด โดยเลือกใช้วัสดุจากขยะทางการเกษตร เช่น เปลือกมะนาว และเปลือกกล้วยที่มีนวัตกรรมการผลิต โดยมีชาวบ้านจากชุมชนต่างๆในหลายจังหวัดเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการผลิต และเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างมูลค่าเพิ่มและลดขยะทางการเกษตรในประเทศไทย ได้รับความสนใจจาก KARIM RASHID STUDIO เพื่อนำไปเป็นวัสดุหุ้มเฟอร์นิเจอร์ นอกจากนี้ตัวVegan Leather วัสดุที่ใช้ในการผลิตรองเท้ายังได้รับความสนใจจากนักออกแบบแฟชั่นในเมืองมิลานเป็นอย่างมาก

- วัสดุ recycle yarn แบรนด์ aibelle ได้รับความสนใจจากทีมดีไซเนอร์ จาก Martin Margiela เพื่อพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์กระเป๋า

- สินค้าไลฟ์สไตล์จาก แบรนด์ Sonite ผลิตจากวัสดุเหลือใช้จากการเกษตร แกลบข้าว ใยมะพร้าว กะลามะพร้าว และแผ่นบุผนังช่วยดูดซับเสียงผลิตจากผักตบชวา ได้รับความสนใจจากนักออกแบบ สถาปนิก ภายในงานเป็นอย่างมากมีความต้องการอยากร่วมมือ สั่งซื้อตลอดช่วงที่จัดแสดง

- ผลงาน textile จาก DEESAWAT x ausara surface and textile ได้รับความสนใจจากนักออกแบบเครื่องจาก bulgari เพื่อพัฒนาเป็นเครื่องประดับ

- แบรนด์ moRE ที่มีการวิจัยและพัฒนาวัสดุ ตั้งแต่เศษขยะจากครัวเรือน อาทิ หลอด ฝาขวดน้ำ อลูมิเนียมฟอยด์กล่อง ไปจนถึงของเสียจากการเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร อย่างเยื่อกาแฟ ใบอ้อย พัฒนาเป็นSustainable material วัสดุใหม่สำหรับเฟอร์นิเจอร์และสินค้าตกแต่งบ้านที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ได้รับความสนใจจากสถาปนิกและนักออกแบบในยุโรปเป็นอย่างมาก

- ผลงาน พระสติ พระเครื่องทำจากพลาสติกรีไซเคิล และผลงาน RE-rock แบรนด์ Qualy ได้รับความสนใจจาก designer ทีม yamaha Italy ที่สนใจต่อยอดเพื่อพัฒนาไปเป็นโครงรถมอเตอร์ไซต์

- ผลงานแจกันกระดาษจาก 103paper และวัสดุจาก Melt District ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก

ผู้สนใจสามารถติดต่อตามข้อมูลของโครงการได้ที่ creativethailand.net และสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP)กระทรวงพาณิชย์ www.ditp.go.th หรือสายตรงการค้าระหว่างประเทศ โทร 1169


ข่าวประชาสัมพันธ์

ดีป้า เตรียมจัดการแข่งขัน Coding War รอบชิงชนะเลิศ

สมรภูมิไอเดียด้านโค้ดดิ้งที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย หา 10 สุดยอดผลงานนวัตกรรมดิจิทัลจากเด็กไทยทั่วประเทศ ดีป้า เตรียมจัดการแข่งขัน Coding War ...

โวยวายดอทคอม