วันพุธที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2563

การฝังเข็มรักษา

ใครอยากรู้ว่าการฝังเข็มคืออะไร?
วันนี้เราอยู่ที่ ย่านถนนรัชดาภิเษก ที่นี่เป็นสถานพยาบาลการแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม  ครั้งแรกทีมีโอกาสมาทำการรักษา และได้รู้จักกับความมหัศจรรย์ของ ฝังเข็ม (Acupuncture)
การฝังเข็มเป็นศาสตร์การรักษาโรคและอาการต่างๆ ของจีนโบราณในทางกายภาพหรือทางสรีระวิทยาแล้ว เส้นลมปราณ  การฝังเข็มรักษา คือการนำเข็มที่มีขนาดบางมากๆ ฝังลงไปตามจุดฝังเข็มจุดต่าง ๆ บนร่างกาย เป็นศาสตร์การรักษาโรคชนิดหนึ่งของจีนโบราณ โดยเชื่อว่าจะช่วยบรรเทาอาการป่วย 
เช่น อาการปวด ความเครียด ปวดศีรษะ ไมเกรน  ข้ออักเสบ ภูมิแพ้  การฝังเข็มเป็นวิธีการรักษาโรค
และช่วยในการฟื้นฟูสุขภาพ  ป้องกันโรค โดยการใช้เข็มปักตามตำแหน่งจุดเฉพาะต่างๆ ของร่างกาย มีวัตถุประสงค์  เพื่อปรับสมดุลกับร่างกาย ช่วยปรับให้อวัยวะและระบบการทำงานของร่างกายให้กลับทำงานได้เป็นปกติในวิธีการรักษา รวมไปถึงกลไกลหรือวิธีการรักษายัง ไม่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยการแพทย์หรือวิทยาศาตร์สมัยใหม่ การรักษาอาจไม่ได้อยู่ที่การฝังเข็มอย่างเดียว อาจเป็นผลมาจากการ
กระตุ้นไฟฟ้าที่นำมาใช้ร่วมกับการฝังเข็ม เพื่อปรับการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย



การเลือกแพทย์ฝังเข็ม แพทย์แต่ละคนจะมีลักษณะและวิธีการรักษาที่ค่อนข้างเฉพาะตัว  และแตกต่างกันออกไป ควรศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับสถานพยาบาลหรือแพทย์ที่ต้องการเข้ารับการรักษา สอบถามข้อมูลหรือคำแนะนำจากคนรู้จักหรือผู้ที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับการฝังเข็มมาก่อนสอบถามเกี่ยวกับใบอนุญาตประกอบโรคศิลป์ของแพทย์ฝังเข็มที่ต้องการเข้ารับการรักษา สอบถามเกี่ยวกับวิธีการรักษา
รวมไปถึงค่าใช้จ่ายในการรักษาแต่ละครั้ง ส่วนขั้นตอนการฝังเข็ม แต่ละคนจะมีวิธีการ ความถี่ และระยะเวลาในการรักษาไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรง ของผู้ป่วยแต่ละราย สำหรับโรคทั่วไปจะทำการรักษาประมาณ 6-8 ครั้ง แบ่งเป็น 1-2  ครั้งต่อสัปดาห์ ในครั้งแรกใช้เวลาประมาณ 60 นาที และจะใช้เวลาประมาณ 30 นาที ในครั้งต่อไป ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย แพทย์จะทำการวินิจฉัยอาการของผู้ป่วยซักประวัติและตรวจร่างกาย จากนั้น จะส่งต่อไปยังแพทย์ฝังเข็ม (Acupuncturist) อาจมีการตรวจจังหวะชีพจรที่บริเวณข้อมือเพิ่มเติม



วันนี้เราทำการรักษาด้วยการฝังเข็มเนื่องจากปวดเกร็งน่องทั้งสองข้าง  ซึ่งการเตรียมตัวก่อนการฝังเข็ม เริ่มต้นจากแจ้งประวัติส่วนตัว การตรวจวัดความดันเบื้องต้น และเข้ารับการรักษาโดยการปรึกษาแพทย์ก่อนตัดสินใจเลือกเข้ารับการรักษาด้วยวิธีฝังเข็มเพื่อแก้อาหารและสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการเรื้อรังหรือผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง การฝังเข็มเป็นการรักษาแบบแพทย์ทางเลือก การตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีนี้อาจไม่สามารถรับรองได้ว่าจะเห็นผลกับผู้ป่วยทุกราย อาจเลือกรักษาด้วยวิธีการฝังเข็มควบคู่ไปกับการรักษาทางการแพทย์แผนปัจจุบัน


อาการส่วนใหญ่ที่เชื่อว่าสามารถบรรเทาได้ด้วยการฝังเข็ม
อาการปวดเรื้องรัง เช่น ปวดไหล่ ปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อ  ปวดหัว ไมเกรน ปวดคอ ปวดไหล่ ปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ โรคข้อเข่าเสื่อม  สามารถใช้การฝังเข็มเข้าร่วมกับการรักษาแบบปกติ
การฝังเข็มจะช่วยให้ผ่อนคลายความเครียดและเสริมการไหลเวียนของเลือด ฟื้นฟูสมรรถภาพของสมองจากโรคหลอดเลือดสมอง  โรคการกดทับของเส้นประสาทบริเวณข้อมือ ส่งผลให้เกิดอาการชา

หลังการฝังเข็ม ทีมงานมีโอกาสพบ แพทย์จีนสุทธิสกนธ์ วรรธนะชัยแสง จากวิทยาลัยการแพทย์ทางเลือก ม.ราชภัฏจันทรเกษมความชำนาญพิเศษ  อายุรกรรมทั่วไป, ภูมิแพ้, ไซนัส, ปอด “แพทย์จีน สุทธิสกนธ์  (杨彬) ” ที่นี่มีการรักษาสุขภาพด้วยสมุนไพรจีน  แพทย์แผนจีนอีกหนึ่งทางเลือก เปิดโอกาสให้คนไทยรู้จักการการฝังเข็ม แต่ละคนจะมีวิธีการ ความถี่ และระยะเวลาในการรักษาไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรง ของผู้ป่วย คุณภาพดีอย่างถูกวิธี เพื่อป้องกันโรคร้ายๆ โดยไม่รอให้เจ็บป่วยเสียก่อน ถือเป็นการซื้อหลักประกันสุขภาพล่วงหน้า

“สำหรับใครที่กังวลเรื่องการรักษาเรื้อรังด้วยการใช้สารเคมี อยากให้คนไทยมีโอกาสรักษาโรคด้วยสมุนไพรสกัดคุณภาพดีที่ออกฤทธิ์  และกินง่ายกว่าสมุนไพรรูปแบบ อยากปฏิวัติสุขภาพคนไทย
ให้แข็งแรงไป"


เมื่อพูดถึงเรื่องสุขภาพก็อยากให้ คนไทยคิดถึงสมุนไพร และการรักษาแบบไม่มีสารเคมี เป็นอันดับแรก เพื่อป้องกันร่างกายจากความเจ็บป่วยและมีชีวิตที่ยืนยาวเหมาะกับการดูแลสุขภาพ เพื่อให้คนไทยมีโอกาสรักษาด้วยการใช้การฝังเข็มดูแลสุขภาพร่างกายด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง และพึ่งพายาแผนปัจจุบันให้น้อยที่สุด และถ้าเลือกการรักษาโดยการฝังเข็มให้ก็ต้องเป็นแพทย์หรือนักบำบัดที่ผ่านการอบรมและสอบผ่านเกณฑ์มาแล้ว และควรปรึกษาแพทย์ที่ดูแลโดยตรง และสอบถามเกี่ยวกับรายละเอียดของการรักษาก่อนตัดสินใจเลือกเข้ารับการรักษาด้วยวิธีฝังเข็ม โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีอาการเรื้อรังหรือผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง การฝังเข็มเป็นการรักษาแบบแพทย์ทางเลือก การตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีนี้อาจไม่สามารถรับรองได้ว่าจะเห็นผลกับผู้ป่วยทุกราย"

แพทย์จีน สุทธิสกนธ์  (杨彬)
ความชำนาญพิเศษ : อายุรกรรมทั่วไป, ภูมิแพ้, ไซนัส, ปอด


    
ตารางเวลาการออกตรวจโรค
วันอังคาร  08:30 - 11:30 น.
วันพฤหัสบดี 08.30 - 11.30 น.

วิทยาลัยการแพทย์ทางเลือก ม.ราชภัฏจันทรเกษม
39/1 ถนนรัชดาภิเษก เเขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร
กรุงเทพมหานคร 10900

โทร.02 513 7839
http://www.amc.chandra.ac.th/ccm/

ข่าวประชาสัมพันธ์

GIT เปิดเวที! เชิญชวนนักออกแบบไทยและต่างชาติส่งผลงานประกวดออกแบบเครื่องประดับระดับโลก ปีที่ 18

ชิงเงินรางวัลรวมกว่า 7,000 เหรียญสหรัฐ พร้อมโล่เกียรติยศ 24 เมษายน 2567: GIT จัดการแถลงข่าวโครงการประกวดการออกแบบเครื่องประดับครั้งที่ 18 “E...

โวยวายดอทคอม