ศูนย์เรียนรู้พิพิธภัณฑ์ปราชญ์ท้องถิ่น โต๊ะมีนาปัตตานี
บูรณะบ้านและสุเหร่า “หะยีสุหลง” สร้างศูนย์เรียนรู้จุดเริ่มต้นประวัติศาสตร์ปาตานียุคใหม่ ศอ.บต.ทุ่มงบ 7.7 ล้านซ่อมใหม่ให้เหมือนเดิมให้ครอบครัวโต๊ะมีนาดูแล ทายาทย้ำเป็นเจตนาเดิมของวงศ์ตระกูล เพื่อสร้างความเข้าใจใหม่แต่ไม่หนุนความรุนแรง ถามกระบวนการพูดคุยจะหยิบยกบุคคลสำคัญนี้มาสร้างจุดเปลี่ยนให้กลายเป็นความหวังต่อสันติภาพ
ศูนย์เรียนรู้พิพิธภัณฑ์ปราชญ์ท้องถิ่น มูลนิธิอาจารย์ฮัจจียร์ สุหลง โต๊ะมีนา โดยมี คุณหมอเพชรดาว โต๊ะมีนา มาบรรยายเป็นความรู้ให้ความเป็นมาเป็นไปของมูลนิธิฯ พยายามใช้พลังของชุมชนและผู้คนพัฒนาศักยภาพของพื้นที่ บนพื้นฐานของการมีส่วนร่วมและความเข้าใจในอัตลักษณ์ท้องถิ่น โดยที่พวกเขาไม่รู้มาก่อนว่าก่อนหน้านี้คนในพื้นที่ต่างศาสนาไม่ไว้วางใจพวกเขาเลย แต่สิ่งที่พวกเขาทำได้เปลี่ยนความไม่ไว้วางใจนั้นไปสู่มิตรภาพและความเชื่อใจ เปลี่ยนบางพื้นที่เล็กๆ ในจังหวัดชายแดนใต้ให้กลับไปเหมือนก่อนเหตุการณ์ความไม่สงบ ศูนย์การเรียนรู้ของจังหวัดปัตตานี ให้เหมือนเป็นพิพิธภัณฑ์หะยีสุหลง
โดยรวบรวมสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ รวมทั้งตำราของหะยีสุหลงเท่าที่มีอยู่มาเก็บรวบรวมไว้ให้คนที่สนใจได้มาเรียนรู้ผลงานและประวัติหะยีสุหลง บ้านพักและสุเหร่าสร้างขึ้นในเวลาใกล้เคียงกันราวปี พ.ศ.2470 โดยสุเหร่าหลังนี้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สำคัญๆ ทางประวัติศาสตร์หลายอย่าง โดยเฉพาะการจัดทำข้อเสนอ 7 ข้อเกี่ยวกับสิทธิในการปกครองและสิทธิทางศาสนาในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคใต้
“อีกเหตุผลหนึ่งที่ต้องการเปิดบ้านหะยีสุหลงเป็นศูนย์การเรียนรู้จังหวัดปัตตานี เพราะที่ผ่านมาครอบครัวโต๊ะมีนาถูกใส่ร้ายมาตลอดว่าต้องการแบ่งแยกดินแดนหรือเป็นกบฏ การเปิดบ้านหะยีสุหลงก็เพื่อให้คนนอกที่ไม่เข้าใจ ได้มาดูบ้าน ดูเอกสารของหะยีสุหลง จะรู้ว่าเราอยู่กันอย่างไร มีข้อสงสัยก็ถามได้เลย”
บ้าน-สุเหร่า“หะยีสุหลง เอกลักษณ์สวยงามตามรูปทรงบ้านมลายู ในซอยริมถนนรามโกมุท ในตัวเมืองปัตตานี ใกล้คิวรถบัสสายปัตตานี-นราธิวาส เป็นที่ตั้งบ้านพัก “ตระกูลโต๊ะมีนา” และเป็นที่พำนักของ “หะยีสุหลง อับดุลกอเดร์ โต๊ะมีนา” ซึ่งถือได้ว่าเป็นบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ยุคใหม่ของปาตานี/ชายแดนใต้ คุณจตุรนต์ เอี่ยมโสภา สมาชิกสภาจังหวัดปัตตานี และกรรมการมูลนิธิฯ และ คุณมูฮัมหมัดอารีฟ แวสาแล ผู้ช่วยคุณหมอเพชรดาว จัดเตรียมต้อนรับ
ทายาทรุ่นที่ 3 ของตระกูลโต๊ะมีนา ผู้ดูแลบ้านพักและสุเหร่าหะยีสุหลงได้เล่าถึงที่มาของการบูรณะบ้านพักและสุเหร่าหะยีสุหลงผู้ที่สนใจมาศึกษาถึงประวัติความเป็นมาอาจารย์ฮัจจียร์ สุหลง โต๊ะมีนา พยายามใช้พลังของชุมชนและผู้คนพัฒนาศักยภาพของพื้นที่ บนพื้นฐานของการมีส่วนร่วมและความเข้าใจในอัตลักษณ์ท้องถิ่น โดยที่พวกเขาไม่รู้มาก่อนว่าก่อนหน้านี้คนในพื้นที่ต่างศาสนาไม่ไว้วางใจพวกเขาเลย แต่สิ่งที่พวกเขาทำได้เปลี่ยนความไม่ไว้วางใจนั้นไปสู่มิตรภาพและความเชื่อใจ เปลี่ยนบางพื้นที่เล็กๆ ในจังหวัดชายแดนใต้ให้กลับไปเหมือนก่อนเหตุการณ์ความไม่สงบ
คนรุ่นใหม่ในพื้นที่ส่วนใหญ่ รู้จักหะยีสุหลงกับคุณเด่น แต่ไม่รู้ว่าบ้านพักและสุเหร่าหะยีสุหลงยังอยู่ บางคนมาละหมาดที่สุเหร่านี้เป็นประจำแต่ไม่รู้ว่าเป็นของหะยีสุหลง คุณจตุรนต์ เอี่ยมโสภา บอกว่า สุเหร่าหะยีสุหลงมีความสำคัญกว่าบ้านพัก เพราะข้อเรียกร้อง 7 ข้อของหะยีสุหลงเขียนและพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ดีดที่สุเหร่านี้ ดังนั้นประวัติศาสตร์ยุคใหม่ของปัตตานี้ เกิดขึ้นที่นี่ จึงอยากให้ประชาชนได้มาเรียนรู้ประวัติศาสตร์ปัตตานีจากที่นี้ แต่ไม่ใช่เรียนรู้เพื่อไปใช้ความรุนแรง แต่เพื่อเรียนรู้ปัจจุบันและอนาคตว่าจะไปอย่างไร
ก่อนกลับทีมงานได้รับเกียรติจาก ท่านเด่น โต๊ะมีนา อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และอดีตสมาชิกวุฒิสภา จ.ปัตตานี ซึ่งท่านเป็นคุณพ่อของคุณหมอ มาถ่ายภาพร่วมกับทีมงาน