วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

เส้นทางท่องเที่ยววิถีพุทธเพื่อการนันทนาการ

มนุษยชาติ หากดำเนินชีวิตโดยมีธรรมะเป็นที่พึ่ง เป็นที่ระลึก ย่อมส่งผลให้ชีวิตมีแต่ความสงบและสันติสุข    

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่จัดการศึกษาพระพุทธศาสนาบูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ และสร้างพุทธนวัตกรรมเพื่อพัฒนาจิตใจและสังคม ได้ส่งเสริมและสนับสนุนนักวิจัยจากบัณฑิตวิทยาลัย ลงพื้นที่ดำเนินการวิจัยเพื่อพัฒนาฐานข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยววิถีพุทธ โดยจัดทำเป็นชุดความรู้และสื่อดิจิทัลที่ทันสมัย การจัดกิจกรรมต่างๆ รวมถึงการพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวแบบ 2 ภาษา คือ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีพุทธของประเทศไทยในระดับนานาชาติ

พระสุธีรัตนบัณฑิต รศ. ดร. ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย กล่าวว่า พระพุทธศาสนาเกิดขึ้นมากว่า ๒,๖๐๐ ปีแล้ว ประประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่ นับถือศาสนาพุทธ ด้วยความและศรัทธา ก่อให้เกิดการสร้างโบสถ์ วิหาร เจดีย์ วัตถุสถาน เพื่อเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา ขึ้นมากมาย สิ่งเหล่านี้ กลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่า อีกทั้งยังเป็นแหล่งเรียนรู้และเผยแผ่พระพุทธศาสนา  


อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวนับได้ว่ามีความสำคัญต่อเศรษฐกิจโลก เพราะก่อให้เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ การผลิต และการบริโภค พระมหาทวี มหาปญฺโญ, ผศ. ดร. อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ในฐานะหัวหน้าชุดโครงการวิจัย พร้อมด้วยพระมหาวัฒนา ปญฺญาทีโป, ดร. / ดร.อุดม จันทิมา / และ ดร.กรรณิการ์ ขาวเงิน หัวหน้าโครงการวิจัยย่อย ได้กล่าวขอบคุณ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และ สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ที่มอบทุนสนับสนุนงานวิจัยในครั้งนี้ เพื่อพัฒนาฐานข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยววิถีพุทธ ในเมืองหลัก 15 จังหวัด 30 แห่งในประเทศไทย และจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ที่ทันสมัยทั้งภาคภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตลอดจนการจัดกิจกรรมและประชาสัมพันธ์สื่อผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ ที่ครอบคลุมทุกมิติ เพื่อการนันทนาการ และการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน  

สำหรับเส้นทางท่องเที่ยววิถีพุทธเพื่อการนันทนาการ แบ่งเป็น 3 สาย ประกอบด้วย 1) สายเกจิอาจารย์ รูปเคารพ และวัตถุมงคล 2) สายสถาปัตยกรรมและจิตรกรรม และ 3) สายประเพณีวัฒนธรรมและอนุรักษ์ธรรมชาติ

ส่วนเส้นทางท่องเที่ยววิถีพุทธเพื่อการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ก็แบ่งเป็น  3 สายเช่นเดียวกัน ประกอบด้วย 1) การปฏิบัติธรรมแบบอานาปานสติ 2) การปฏิบัติธรรมแบบสติปัฏฐาน และ 3) การปฏิบัติธรรมแบบกายเคลื่อนไหว              

ทุกภูมิภาคของประเทศไทย มีเรื่องราวที่สะท้อนถึงรากเหง้า ความเป็นมาของบรรพชน รวมถึงวิถีชีวิตของคนไทย ส่งต่อให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้ แฝงไว้ด้วยหลักคิด หลักธรรม ในการดำเนินชีวิต อีกทั้งประเทศไทยยังมีสถานปฏิบัติธรรม ที่มีบรรยากาศร่มรื่นและเงียบสงบด้วยสภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ การได้มาปฏิบัติธรรมจึงเปรียบเสมือนการเติมพลังให้กับชีวิต 

ทุกๆ ปี จะมีนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกเดินทางมายังประเทศไทยเพื่อการท่องเที่ยววิถีพุทธ ดินแดนสยามเมืองพุทธ และสยามเมืองยิ้ม ยินดีต้อนรับนักท่องเที่ยวและผู้สนใจเรียนรู้พระพุทธศาสนาและปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน

ท่องเที่ยววิถีพุทธในยุคดิจิทัลได้ที่ www.travel2thailand.com
Tiktok & facebook: buddhisttourism or travel2thailand


Youtube: travel2thailand

ข่าวประชาสัมพันธ์

“หินซ้อน” เปิดตัวเทศกาลท่องเที่ยว “มหัศจรรย์การอาบป่า“ ขานรับลมหนาวช่วงปีใหม่

  เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวตำบลหินซ้อน สมาคมท่องเที่ยวสระบุรีและอำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี  ร่วมกับตำบลห...

โวยวายดอทคอม