วันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2562

สสว. – สถาบันอาหาร แถลงความสำเร็จ


สร้างเครือข่าย SME ยกระดับพัฒนาผลิตภัณฑ์ สร้างรายได้ยั่งยืน


สสว. ผนึกสถาบันอาหาร โชว์ผลงานส่งเสริมผู้ประกอบการ SME ไทย ภายในงาน “มหกรรมงานแสดงและจำหน่ายสินค้าเกษตรแปรรูปสู่โลกอุตสาหกรรม” พบกับ SME ทั้งกลุ่มอาหารเครื่องดื่มและกลุ่มผลผลิตทางการเกษตรจากทั่วประเทศ กว่า 60 บูธ จากโครงการยกระดับผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม และกิจกรรมพัฒนาเครือข่ายสับปะรดและเครือข่ายกระเทียม ภายใต้โครงการสนับสนุนเครือข่าย SME ปี 2562 ส่งผลให้เกิดการต่อยอดและพัฒนาผลิตภัณฑ์ พร้อมตั้งเป้ายกระดับผู้ประกอบการ กระตุ้นให้เกิดการสร้างรายได้อย่างยั่งยืน
   
 
นายสุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กล่าวว่า สสว. ได้ร่วมกับสถาบันอาหาร ดำเนินโครงการยกระดับผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม OTOP 3-5 ดาว โดยเริ่มดำเนินโครงการตั้งแต่ กุมภาพันธ์ 2562 ซึ่งหลังการดำเนินโครงการเสร็จสิ้น พบว่า มีผู้ประกอบการจำนวน 500 ราย ทั่วประเทศให้ความสนใจและเข้าร่วมการอบรม และมีผู้ผ่านการคัดเลือกจำนวน 52 รายที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาศักยภาพ
ตั้งแต่การสำรวจความคิดเห็นแบบกลุ่มย่อย (Focus group) ระดมความคิด สร้างความรู้ความเข้าใจในการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์สินค้าอาหารและเครื่องดื่มในท้องถิ่นให้ตอบโจทย์ความต้องการของตลาด กระทั่งได้ 52 ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนาเป็นสินค้าต้นแบบ
อาทิ หลนเค็มบักนัดไก่ จ.อุบลราชธานี, มะขามผงชงพร้อมดื่ม จ.เลย, เนื้อทุบรสแซ่บ จ.มุกดาหาร,
ไส้อั่วสมุนไพรผสมบุกรสหม่าล่า จ.เชียงใหม่
, ขิงแผ่นอบกรอบ จ.เพชรบูรณ์,ปลาอินทรีย์ทรงเครื่อง
บรรจุในถุง
Retort Pouch จ.นนทบุรี, พัฟมะม่วง จ.ราชบุรี, ซุปปลาผง จ.ปัตตานี, น้ำแกงส้มพร้อมบริโภค
จ.ประจวบคีรีขันธ์

โดยจะมี 5 ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพิจารณาเพื่อคัดเลือกเป็นสุดยอดสินค้ากลุ่มอาหารและเครื่องดื่มประจำท้องถิ่น (Product champion) ซึ่งทั้ง 5 ผลิตภัณฑ์จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถส่งผลกระทบแบบทวีคูณ (Multiple Effect) กระตุ้นให้เกิดการบริโภคสินค้าหรือบริการมากขึ้น ทำให้เศรษฐกิจในชุมชนเกิดการขยายตัว
โครงการยกระดับผู้ประกอบการฯ เป็นโครงการที่มุ่งเน้นการสร้างจุดเด่นให้กับผลิตภัณฑ์ด้วยอัตลักษณ์ท้องถิ่น เช่น เรื่องดีไซน์ บรรจุภัณฑ์ ตลอดจนการเก็บรักษา เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า และสามารถเข้าสู่ตลาดสากลได้ คาดว่าจะสามารถ สร้างรายได้ให้ผู้ประกอบการไม่น้อยกว่า 25 ล้านบาทต่อปี และสสว หวังให้ผู้ประกอบการ
ได้นําองค์ความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการนี้ไปดําเนินการต่อ เพื่อสร้างความยั่งยืนในแง่ของการสร้างรายได้ให้กับชุมชนต่อไป” ผอ.สสว.กล่าว
          นายสุวรรณชัย กล่าวอีกว่า สำหรับ โครงการสนับสนุนเครือข่าย SME ปี 2562 ในกลุ่มเครือข่ายสับปะรด และกลุ่มเครือข่ายกระเทียม เป็นอีกโครงการหนึ่งที่ สสว. ได้ร่วมมือกับสถาบันอาหารคัดเลือกผู้ประสานงานเครือข่าย (Cluster Development Agent : CDA) จำนวน 17 ราย การรวมกลุ่มเครือข่าย 5 กลุ่ม แบ่งเป็นสับปะรด 4 เครือข่าย และกระเทียม 1 เครือข่าย ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ ได้รับความรู้และประสบการณ์ในหลายด้าน ทั้งการยกระดับ มาตรฐานการผลิต การนำเทคโนโลยี นวัตกรรม และงานวิจัยมาใช้พัฒนาผลิตภัณฑ์ สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้และยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ของตนเองได้เป็นอย่างดี

     างนิตยา พิระภัทรุ่งสุริยา รองผู้อำนวยการ รักษาการผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กล่าวต่อว่า โครงการสนับสนุน เครือข่าย SME ปี 2562 ในกลุ่มเครือข่ายสับปะรด และกลุ่มเครือข่ายกระเทียม ซึ่งสถาบันอาหารได้รับมอบหมายให้ดำเนินการ มีความคืบหน้าด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์เป็นรูปธรรมได้ 5 ผลิตภัณฑ์จาก
5 เครือข่าย
ทั้งยังเกิดการเชื่อมโยงกันของผู้ประกอบการในเครือข่าย ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ไปจนถึงปลายน้ำ ให้เกิดเป็นเครือข่ายที่เข้มแข็งยิ่งขึ้น
ได้แก่ กลุ่มเครือข่ายสับปะรดสามบุรี (จังหวัดราชบุรี จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดกาญจนบุรี) พัฒนาไอศกรีมไวน์สับปะรด กลุ่มเครือข่ายสับปะรดสยามโกลด์ (จังหวัดประจวบคีรีขันธ์) พัฒนาสับปะรดแช่เยือกแข็ง กลุ่มเครือข่ายสับปะรดสินสมุทร (จังหวัดระยอง จังหวัดชลบุรี จังหวัดตราด) พัฒนาสับปะรดอบน้ำผึ้ง กลุ่มเครือข่ายสับปะรดภาคเหนือ (จังหวัดอุทัยธานี จังหวัดอุตรดิตถ์ จังหวัดพิษณุโลก) พัฒนาสับปะรดผงสำหรับหมักเนื้อ และกลุ่มเครือข่ายผู้ปลูกกระเทียมจังหวัดเชียงใหม่ พัฒนากระเทียมผง
ขณะเดียวกันได้ส่งเสริมการตลาดทั้งในและต่างประเทศ พร้อมจัดให้มีการเจรจาจับคู่ธุรกิจ ณ เมืองมิเอะ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2562 คาดว่ามียอดการ สั่งซื้อประมาณ 30 ล้านบาท




      นายสุวรรณชัย กล่าวต่อว่า จะเห็นได้ว่า จาก 2 โครงการที่ สสว.ทำงานร่วมกับสถาบันอาหาร มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์เกิดขึ้น ไม่น้อยกว่า 100 ผลิตภัณฑ์จากทั่วประเทศ จึงเป็นโอกาสที่ดีในการพัฒนาธุรกิจโดยการสนับสนุน ด้านการสร้างกลุ่มเครือข่าย และ สร้าง Product Champion ด้วยการพัฒนาคุณภาพกระบวนการผลิต พัฒนาผลิตภัณฑ์ ปรับปรุงบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมกับความต้องการของตลาดในปัจจุบันและเป็นการวางรากฐานการพัฒนาสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ ให้มีการกระจายทั้งประเทศอย่างทั่วถึง
และเพื่อเป็นการต่อยอดการพัฒนาผู้ประกอบการให้เกิดความยั่งยืน สสว. สถาบันอาหาร และมหาวิทยาลัยสวนดุสิต จึงได้จัดพิธีบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ การส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการรายย่อย (Micro SME) ผ่านศูนย์ความเป็นเลิศ (Center of Excellence) เพื่อการพัฒนายกระดับสินค้าชุมชน และสร้าง Product Champion กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม
“ความร่วมมือดังกล่าว ได้แก่ การส่งเสริม และ สนับสนุนทางด้านวิชาการ การฝึกอบรม การพัฒนาองค์ความรู้ และการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่ผู้ประกอบการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์วัตถุดิบทางการเกษตร เพื่อให้เกิดผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มในรูปแบบเพิ่มมูลค่าให้กับ สินค้าเกษตร และการอนุรักษ์ หรือรักษาอัตลักษณ์ท้องถิ่น การสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่จากงานวิจัย โดยใช้วัตถุดิบท้องถิ่นนำมายกระดับพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ส่งผลกระทบแบบทวีคูณ (Multiple Effect) กระตุ้นให้เกิดการบริโภคสินค้าหรือบริการมากขึ้น ส่งผลให้เศรษฐกิจในชุมชนเกิดการขยายตัวและยั่งยืน” นายสุวรรณชัย กล่าวในที่สุด





           สำหรับผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจจากทั้งสองโครงการ ได้นำมาจัดแสดงและจำหน่ายภายในงาน “มหกรรม
งานแสดงและจำหน่ายสินค้าเกษตรแปรรูปสู่โลกอุตสาหกรรม”
รวมทั้งผลิตภัณฑ์ ดีสินค้าเด่นในกลุ่มเครือข่าย
ทั่วประเทศ ตั้งแต่ วันที่
20-26 สิงหาคม 2562 เวลา 10.00 -21.00 น.ณ ลานกิจกรรมลิฟท์แก้ว ชั้น G ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่า ปิ่นเกล้า ติดตามรายละเอียดผ่านทาง
www.sme.go.th หรือ application  SME CONNEXT












ข่าวประชาสัมพันธ์

รองผู้ว่าฯปทุมธานี ชวนพี่น้องชาวปทุมธานี ออกกำลังกายและเล่นกีฬาพร้อมนับแคลอรี

 ผ่าน แอปพลิเคชัน Calories Credit Challenge  “CCC”   วันนี้ (25 ก.ค.67) เวลา 15.30 น. ที่ โรงแรมทินิดี โฮเต็ล บางกอก กอล์ฟ คลับ จังหวัดปทุมธ...

โวยวายดอทคอม