วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2567

สศท. ผนึกกำลังร่วมกับ กรมทรัพย์สินทางปัญญา ต่อยอดผลิตภัณฑ์ที่มีลิขสิทธิ์สู่ขยายผลเชิงพาณิชย์


สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ สศท. ผนึกกำลังร่วมกับ กรมทรัพย์สินทางปัญญา ต่อยอดการใช้ประโยชน์ผลิตภัณฑ์ที่มีลิขสิทธิ์สู่ขยายผลเชิงพาณิชย์ ร่วมเดินหน้าให้ความรู้ และการให้คำปรึกษาด้านการยื่นจดทรัพย์สินทางปัญญา การเผยแพร่ และขยายผลภูมิปัญญาไทยในงานหัตถกรรม

สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ สศท. เดินหน้าส่งเสริม สร้างสรรค์ สนับสนุน การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรม ด้วยการผลักดันศักยภาพครูศิลป์ของแผ่นดิน ครูช่างศิลปหัตถกรรม ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม สมาชิกผู้ผลิตงานศิลปหัตถกรรม ให้ตระหนักถึงการรักษามูลค่าของความคิดที่เป็นคลังสมองเฉพาะบุคคล เป็นลิขสิทธิ์ทางปัญญาซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างโอกาสด้านต่าง ๆ ทั้งเชิงพาณิชย์และองค์ความรู้ โดยผลักดันการยื่นจดทรัพย์สินทางปัญญาต่อยอดให้เกิดการคุ้มครองผลงานทรัพย์สินทางปัญญาให้แก่ครูศิลป์ของแผ่นดิน ครูช่างศิลปหัตถกรรม ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม สมาชิก สศท. ผู้ผลิตงานศิลปหัตถกรรม

นางพรรณวิลาส แพพ่วง รักษาการแทนผู้อำนวยการ สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย กล่าวว่า สศท.ได้ดำเนินการสนับสนุนโอกาสในการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทย ประเภทสินค้ากลุ่มหัตถกรรมทั้ง 9 ประเภท ได้แก่ 

1.เครื่องไม้ 2.เครื่องจักสาน 3.เครื่องดิน 4.เครื่องทอ(เครื่องผ้า) 5.เครื่องรัก 6.เครื่องโลหะ 7.เครื่องหนัง 8.เครื่องกระดาษ 9.เครื่องหิน 10.อื่นๆ 

กลุ่มสินค้างานหัตถกรรมเหล่านี้ ได้อยู่ในพื้นที่ GI  (แหล่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์) โดยผู้ผลิตผลงานในพื้นที่ GI ได้นำวัสดุ/วัตถุดิบ ที่มีความเกี่ยวข้องกับกับการผลิตผลงานเข้ามาเป็นส่วนที่สร้างสรรค์ ต่อยอด ให้สินค้ามีความโดดเด่น มีอัตลักษณ์สูง อันเนื่องมาจากการหยิบใช้ทุนในพื้นที่ อาทิ ทุนทางประวัติศาสตร์ ทุนทางสังคมและวัฒนธรรม ทุนสิ่งแวดล้อม สิ่งเหล่านี้ สศท. เร่งผลักดันให้ผู้ผลิตงานศิลปหัตกรรมนำมาเป็นฐานคิดที่สามารถสร้างความแข็งแกร่ง จะสามารถเพิ่มคุณค่าและมูลค่าแก่สินค้าหัตถกรรมได้อย่างมีศักยภาพ 

โดยปีนี้ สศท. ได้สร้างความร่วมมือกับ กรมทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนศิลปหัตถกรรม    ของไทย ให้เติบโตก้าวสู่การแข่งขันในยุค Disruption ได้ทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต

ในวันนี้ สศท. ได้จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ร่วมกับ กรมทรัพย์สินทางปัญญา โดย สศท. ยังคงมุ่งเน้นการสร้างคุณค่า สร้างอัตลักษณ์ในภูมิปัญญางานหัตถกรรม ผลักดันให้สินค้าได้มีลิขสิทธิ์ และสร้างมาตรฐานให้กับสินค้าเป็นที่น่าเชื่อถือ อันจะส่งผลต่อภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นของงานหัตถกรรมไทยให้กลายเป็นจุดแข็ง รวมถึงการผลักดันรูปแบบผลิตภัณฑ์หัตถกรรมที่ได้พัฒนภายใต้โครงการฯ ต่าง ของ สศท. ในปีนี้มีผลิตภัณฑ์จากโครงการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ เพื่อต่อยอดเชิงพาณิชย์ (SACIT Concept : Geographical Indications of Arts and Crafts)  ภายในโครงการมีกิจกรรม Crafts Design Matching เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างผู้ผลิตงานศิลปหัตถกรรม และ นักออกแบบ โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการจากพื้นที่ GI (สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์) เข้าร่วมโครงการฯ ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนายังสามารถขยายการเชื่อมโยงสู่การท่องเที่ยวระดับชุมชน และพัฒนาเป็นสินค้าหัตถกรรมสู่การท่องเที่ยวในระดับโลกได้ 



นายอาวุธ วงศ์สวัสดิ์ รองอธิบดี รักษาราชการแทนอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา กล่าวว่า กรมทรัพย์สินทางปัญญา พร้อมให้ความรู้และคำปรึกษาด้านการยื่นจดทรัพย์สินทางปัญญา รวมทั้งส่งเสริมสนับสนุนการยื่นจดทรัพย์สินทางปัญญา ภายในประเทศ และระหว่างประเทศ แก่ครูศิลป์ของแผ่นดิน ครูช่างศิลปหัตถกรรม ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม สมาชิก สศท. ผู้ผลิตงานศิลปหัตถกรรม และนักออกแบบ ให้เป็นผู้ประกอบการมืออาชีพ และตระหนักในคุณค่าของความคิดสร้างสรรค์ พร้อมสนับสนุนการดำเนินงานของทั้งสองฝ่าย เพื่อนำไปพัฒนาต่อยอดให้เกิดประโยชน์สูงสุด




ทั้งนี้ หน่วยงานทั้ง 2 หน่วยงาน จะร่วมเดินหน้าขับเคลื่อนงานศิลปหัตถกรรมของประเทศไทย สร้างรูปแบบผลิตภัณฑ์อย่างมีประสิทธิภาพ ร่วมกันให้คำปรึกษาและจัดกิจกรรมเพื่อสนับสนุนให้สามารถแข่งขัน  ได้ อย่างต่อเนื่อง เช่น การอบรม สัมมนา การขยายช่องทางการจำหน่ายผ่าน Platform e-Commerce ชั้นนำ ที่มีความร่วมมือระหว่างสถาบัน ซึ่งนอกจากเป็นการสร้างศักยภาพ ยังเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในสินค้าหัตถกรรมของไทยในระดับนานาชาติอีกด้วย

สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) ขอเชิญชวนผู้ที่สนใจการพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมไทย      

สามารถติดตาม “การจัดแสดงนิทรรศการแสดงต้นแบบผลิตภัณฑ์ ที่ถูกพัฒนาภายใต้โครงการฯ ของ สศท. ที่เสร็จสมบูรณ์ได้ในงานแสดงสินค้า Crafts Bangkok 2024 
ระหว่างวันที่ 24 - 28 สิงหาคม 2567  ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุม ไบเทค บางนา 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ :
ฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรม สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน)
ที่อยู่ : 59 หมู่ 4 ตำบลช้างใหญ่ อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13290 ;

โทรศัพท์. 0 3536 7054-9; โทรสาร. 0 3536 7050-1; สายด่วน. 1289; อีเมล. info@sacit.or.th

ข่าวประชาสัมพันธ์

Gathering Space ชวนคิด ออกแบบอย่างแคร์เมือง

ผู้เชี่ยวชาญถกแนวทางพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนในประเทศไทย ในงาน SX2024 เสวนาซีรีส์ “City that cares” ในงาน Sustainability Expo 2024 (SX2024) อภิ...

โวยวายดอทคอม