วันอังคารที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2564

BIDC 2021ฝ่าวิกฤตโควิด-19 ตอบโจทย์วิถี New Normal หนุนเศรษฐกิจดิจิทัลเติบโต คาดมูลค่าตลาดรวมปี 64แตะ 39,000 ล้านบาท

ภาคอุตสาหกรรมฯ ผนึกภาครัฐ ฝ่าวิกฤตโควิดและตอบโจทย์วิถี New Normal เปิดงานมหกรรมดิจิทัลคอนเทนท์ “Bangkok International Digital Content Festival 2021” หรือ BIDC 2021 ครั้งที่ 8  ในรูปแบบออนไลน์เต็มสูบ โดยมีกิจกรรมเสวนาออนไลน์ ที่มาเติมเต็มความรู้จากวิทยากรชั้นนำระดับโลกและไทย พร้อมเปิดเวทีจับคู่เจรจาการค้าระหว่างผู้ประกอบการไทย-เทศรวม93บริษัท และมอบรางวัล BIDC AWARDS ให้แก่ผู้ประกอบการไทยในกลุ่มอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนท์ ที่มีผลงานโดดเด่นในรอบปี เชื่อมั่นอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนท์ในภาพรวมยังมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง  และการจัดงาน BIDC ยังสร้าง GDP มูลค่ากว่า 1,500 ล้านบาท เกิดการจ้างงานกว่า 10,700 ตำแหน่งงาน งาน BIDC 2021จึงเป็นการผนึกพลังความร่วมมือระหว่างภาคอุตสาหกรรมและภาครัฐ เพื่อร่วมขับเคลื่อนอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนท์ไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืนและเสริมสร้างศักยภาพในเวทีระดับโลก

.ผศ.ดร.สุรพงษ์ เลิศสิทธิชัย นายกสมาคมธุรกิจบางกอกเอซีเอ็มซิกกราฟ BASA
และผู้แทนภาคอุตสาหกรรม

ผศ.ดร.สุรพงษ์ เลิศสิทธิชัย นายกสมาคมธุรกิจบางกอกเอซีเอ็มซิกกราฟและผู้แทนภาคอุตสาหกรรม กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19ต่อเนื่องจากปีที่ผ่านจนถึงปัจจุบัน ส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมต่างๆ มีการปรับตัวเพื่อเดินหน้าธุรกิจเช่นเดียวกับอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนท์ ซึ่งจากการคาดการณ์อุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนท์ไทยและบิ๊กดาต้าในปี 2563จะมีการเติบโตต่อเนื่อง โดยอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนท์จะขยายตัวขึ้นอีก 10.1% คิดเป็นมูลค่าอุตสาหกรรมฯ รวม 34,229 ล้านบาทเที่ยบกับปี 2562มีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 11.51% คิดเป็นมูลค่าอุตสาหกรรมฯ31,080 ล้านบาท นอกจากนี้ในปี 2564 มีการคาดการณ์มูลค่าอุตสาหกรรม อยู่ที่ 39,000 ล้านบาทเติบโต 15%และในปี 2565 คาดการณ์มูลค่าอุตสาหกรรม อยู่ที่ 45,094 ล้านบาทและเติบโต 15% ซึ่งมีการเติบโตทั้งในส่วนแอนิเมชั่น เกมและคาแรคเตอร์ อ้างอิงข้อมูลจากการสำรวจและคาดการณ์ของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลกับสถาบันไอเอ็มซี ทั้งนี้จากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 อุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนท์ในภาพรวมยังมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องสอดคล้องกับอัตราการเติบโตข้างต้นรวมทั้งผู้ประกอบยังใช้ช่องทาง  อีคอมเมิร์ซเข้ามาตอบโจทย์ในยุคดิจิทัลในการจำหน่ายสินค้าต่างๆอีกทั้งยังมองว่ายังเป็นการเพิ่มโอกาสของอุตสาหกรรมฯ เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อรองรับการขยายการเติบโตในอนาคต อาทิ กลุ่มอีเลิร์นนิงที่ยูสเซอร์ได้มีแพลตฟอร์มการเรียนการสอนเพิ่มขึ้น มีการพัฒนาคอนเทนท์ที่รองรับการเรียนรู้ใหม่ๆ และเข้าสู่การเรียนการสอนด้วยดิจิทัล 100% และในส่วนมหาวิทยาลัยมีการพัฒนาหลักสูตรด้านดิจิทัลคอนเทนท์ในสาขาต่างๆ เพื่อสร้างบุคลากรรองรับในอุตสาหกรรมฯ นี้  นอกจากนี้กลุ่มภาพยนตร์การถ่ายภาพในสตูใหญ่ก็ใช้ดิจิทัล สกรีนเข้ามาใช้ในการถ่ายทำ รวมทั้งการใช้แอนิเมชั่นมาพัฒนาต่อยอดการถ่ายทำโดยไม่ต้องไปสถานที่จริง ซึ่งช่วยให้ควบคุมต้นทุนได้อีกด้วย ทั้งนี้ในการจัดงานรูปแบบVirtual Event ของ BIDC2021 ซึ่งเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นส่วนขับเคลื่อนให้การจัดกิจกรรมดำเนินต่อไปและเศรษฐกิจไม่หยุดชะงัก

ล่าสุดภาคอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนท์ และภาครัฐเดินหน้าผนึกกำลังจัดงาน Bangkok International Digital Content Festival 2021 หรือ BIDC 2021 เป็นงานมหกรรมของอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนท์ ที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและความร่วมมือของภาคเอกชน ประกอบด้วย สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์(CEA) สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล(DEPA) กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์(DITP) สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ(องค์การมหาชน) (TCEB) ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนท์ โดยมี 5 สมาคม ได้แก่สมาคมธุรกิจบางกอกเอซีเอ็มซิกกราฟ (BASA)  สมาคมดิจิทัลคอนเทนท์ไทย (DCAT)  สมาคมผู้ประกอบการแอนิเมชั่นและคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ไทย (TACGA) สมาคมอีเลิร์นนิงแห่งประเทศไทย (e-LAT)  และสมาคมอุตสาหกรรมซอฟแวร์เกมไทย (TGA)  ซึ่งในครั้งนี้ได้มีพันธมิตรเข้าร่วมให้การสนับสนุนกิจกรรมสัมมนาออนไลน์ (Webinar)  คือ   บริษัท ชินเอ เซอร์วิส จำกัดเพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมดิจิทัลของประเทศไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมอนาคต (New S-Curve) ในการสร้างเม็ดเงินและมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศโดยการส่งเสริมและสนับสนุน รวมถึงการสร้างเครือข่ายให้อุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนท์ไทยสู่เวทีระดับโลก นับเป็นการผนึกความร่วมมืออย่างบูรณาการระหว่างภาคอุตสาหกรรมฯและภาครัฐอย่างต่อเนื่องและได้รับการตอบรับอย่างมากตลอดการจัดงานสู่ปีที่ 8 ในครั้งนี้ โดยงานในปีนี้จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม - 6 สิงหาคม 2564ผ่านระบบออนไลน์เต็มรูปแบบทั้งนี้สอดคล้องกับนโยบายที่รัฐบาลต้องการผลักดันให้เกิดเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ เพื่อกระตุ้นและสร้างเศรษฐกิจประเทศให้แข็งแกร่งด้วย

นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES)

ทางด้าน นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES)กล่าวว่า สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) ซึ่งเป็นองค์กรในการกำกับดูแลของกระทรวงฯ ในฐานะองค์กรที่มีบทบาทเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทยเล็งเห็นว่า การผนึกพลังร่วมกันของภาครัฐและภาคอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนท์เป็นการสนับสนุนให้อุตสาหกรรมเติบโตได้อย่างยั่งยืน และยังมีการปรับตัวให้เข้ากับเทรนด์ New Normal ในขณะนี้ เพื่อให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจยังดำเนินต่อไปได้และทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ภายใต้สถานการณ์ปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในปัจจุบัน ส่งผลให้เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทและส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิตมากขึ้น ประชาชนใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวันมากยิ่งขึ้น มีทั้งกิจกรรมออนไลน์ที่ช่วยสร้างความบันเทิงและผ่อนคลาย เช่น เกมออนไลน์ ผนวกกับแรงหนุนจากการแข่งกีฬา E-Sport ในกลุ่มคนรุ่นใหม่ นอกจากนี้ผู้บริโภครับสื่อดังกล่าวได้หลายช่องทาง เช่น Netflix และ YouTube ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งเป็นที่นิยม ซึ่งมีส่วนผลักดันและขับเคลื่อนให้อุตสาหกรรมบันเทิง รวมถึงธุรกิจด้านเกม แอนิเมชัน และคาแรคเตอร์เติบโตอย่างต่อเนื่อง และในส่วนของอุตสาหกรรมอีเลิร์นนิงของไทยโควิด-19 ถือเป็นตัวเร่งให้ธุรกิจด้านนี้ขยายตัว เนื่องจากทุกภาคส่วนรวมไปถึงประชาชน นักเรียน มีการปรับตัวและใช้การเรียนการสอน รวมไปถึงการทำงานผ่านรูปแบบ Online Live Streaming มากยิ่งขึ้น จึงถือเป็นโอกาสสำคัญในการพัฒนาและต่อยอดผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ให้แก่อุตสาหกรรมดิจิทัลด้วย

นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES)

ดร. สรรเสริญ สมะลาภาผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์กล่าวว่าในนามของกระทรวงพาณิชย์ ตาม
ที่รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ มีความมุ่งมั่นและมี
นโยบายที่จะผลักดันให้ดิจิทัลคอนเทนท์เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจตามแนวคิด “Creative Economy” และส่งเสริมให้ประเทศเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนท์ (Digital Content Hub) เพื่อสอดคล้องกับนโยบาย 14 แผนงานประจำปี 2564 ของกระทรวงพาณิชย์ โดยได้ร่วมสนับสนุนการจัดงาน BIDC มาอย่างต่อเนื่องตลอด 8 ปี เพื่อสร้างเวทีเจรจาธุรกิจในยุคดิจิทัล นำร่องสู่การพัฒนาเศรษฐกิจตามแผนยุทธศาสตร์ Thailand 4.0 อย่างเต็มรูปแบบ ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ได้ดำเนินการส่งเสริมและขยายช่องทางการค้าให้แก่ผู้ประกอบการดิจิทัลคอนเทนท์ไทยสู่ตลาดโลกอย่างต่อเนื่อง ในช่วง  2 ปีที่ผ่านมาผลการเจรจาการค้าจากการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมดิจิทัลคอนเทนท์ไทย ในส่วนของแอนิเมชั่น คาแรคเตอร์ และเกม มีมูลค่ารวมกว่า 2,700 ล้านบาทและจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19ที่เกิดขึ้นทั่วโลก รวมทั้งไทย ส่งผลให้ภาคธุรกิจมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบสู่วิถีความปกติใหม่ หรือ New Normal จึงทำให้การจัดงาน BIDC2021 ในกิจกรรมเจรจาธุรกิจเป็นรูปแบบออนไลน์เป็นปีที่ 2 ซึ่งคาดว่าจะมีการจับคู่เจรจาธุรกิจมากกว่า 200 คู่และสร้างมูลค่าไม่น้อยกว่า 490 ล้านบาท โดยปีนี้ได้รับการตอบรับจากผู้ประกอบการด้านดิจิทัลคอนเทนท์ทั่วโลกเข้าร่วมเจรจาธุรกิจ จำนวน 36 บริษัท จาก 11 ประเทศ และมีผู้ประกอบการไทยร่วมเจรจาธุรกิจในครั้งนี้จำนวน57 บริษัท ซึ่งแสดงให้เห็นว่ากิจกรรมดังกล่าวเป็นกลไกสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนและผลักดันการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนท์ไทยให้เกิดความแข็งแกร่งเป็นที่ยอมรับบนเวทีการค้าโลก

นางนิชาภา ยศวีร์ รองผู้อำนวยการสายงานธุรกิจ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน)  กล่าวว่า ทีเส็บในฐานะหน่วยงานที่มีพันธกิจในการสนับสนุนและพัฒนางานเทศกาลนานาชาติของไทยให้เติบโตในระดับนานาชาติ ได้สนับสนุนการจัดงานมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี พ.ศ.2558โดยมุ่งเน้นให้งานนี้เป็นการรวมตัวประชุมของบุคคลากรในวงการธุรกิจดิจิทัลคอนเทนท์ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งสอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจตามแผนยุทธศาสตร์ Thailand 4.0 และจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ส่งผลให้งานเทศกาลต่างๆ ต้องปรับตัวไปสู่การจัดงานเทศกาลรูปแบบใหม่ (New Normal) ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบออนไลน์ หรือ Hybrid ดังนั้น ทีเส็บจึงได้มีนโยบายให้การสนับสนุนและส่งเสริมการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีออนไลน์ในการจัดงาน เพื่อให้ยังคงสามารถจัดงานได้รวมถึงการรักษาฐานลูกค้าที่ดีของงานไว้ได้อย่างเข้มแข็ง ตลอดจนการส่งเสริมและรักษาฐานอุตสาหกรรมการจัดงานอีเวนท์และเทศกาลตลอดระยะเวลา 7 ปีที่ผ่านมา ทีเส็บได้จัดเก็บข้อมูลการศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากการจัดงาน BIDC พบว่า งาน BIDC ได้สร้างผลทางเศรษฐกิจต่อรายได้ประชาชาติ (GDP) มีมูลค่า
กว่า 1,500 ล้านบาท รัฐสามารถจัดเก็บภาษีได้ 233 ล้านบาท และเกิดการจ้างงานกว่า 10,700 ตำแหน่ง

นายพิชิต วีรังคบุตรรองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน)

ด้าน นายพิชิต วีรังคบุตรรองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า CEAมีพันธกิจสำคัญในการสนับสนุนอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ให้ขับเคลื่อนและเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) และเป็นแนวทางสำคัญในการพัฒนาความแข็งแกร่งด้านเศรษฐกิจของประเทศ งาน BIDC นี้ เพื่อแสดงศักยภาพของอุตสาหกรรมดิจิทัล คอนเทนต์ ซึ่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่โดดเด่นของไทย และในปีนี้ CEA ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนและส่งเสริมซึ่งสอดรับกับทิศทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์สำหรับงาน BIDC 2021 ในครั้งนี้จะเป็นโอกาสอันดีที่ภาครัฐและหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงรวมทั้งผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของไทยที่มีเวทีแสดงศักยภาพและความพร้อมของอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนท์ของไทยแก่ผู้ที่สนใจทั้งในระดับประเทศและระดับสากล พร้อมทั้งยังเป็นเวทีการแลกเปลี่ยนและเสริมสร้างองค์ความรู้ทักษะจำเป็นต่างๆ ผ่านงานสัมมนาและการประชุมเชิงปฏิบัติการได้มาร่วมแสวงหาโอกาสและความร่วมมือผ่านการเจรจาธุรกิจทางระบบออนไลน์ เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นเจ้าของสินทรัพย์ทางความคิดสร้างสรรค์ ก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ และพร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทยอย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ ผศ.ดร.สุรพงษ์ เลิศสิทธิชัย นายกสมาคมธุรกิจบางกอกเอซีเอ็มซิกกราฟ และผู้แทนภาคอุตสาหกรรม กล่าวเสริมปิดท้ายว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ตั้งแต่ปีที่ผ่านมาจนถึงขณะนี้ ส่งผลให้ผู้ประกอบการต่างชาติไม่สามารถเดินทางเข้ามาร่วมงาน BIDC 2021 ณ กรุงเทพมหานครได้ ทางผู้จัดงานจึงได้จัดกิจกรรมออนไลน์เต็มรูปแบบโดยได้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม ถึง - 6 สิงหาคม 2564 ผ่านระบบออนไลน์เต็มรูปแบบ เพื่อให้อุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนท์ไทยดำเนินการจัดกิจกรรมส่งเสริมอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งกิจกรรมไฮไลท์ต่างๆ ยังอัดแน่นครบครันเหมือนทุกปี ดังนี้

1 กรกฎาคม ถึง 4 สิงหาคม 2564กิจกรรมเสวนาออนไลน์ (Webinar) โดยเชิญผู้ทรงคุณวุฒิทั้งชาวไทยและต่างชาติ มาแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนท์กว่า 23 หัวข้อผ่านทางระบบ zoom meeting และถ่ายทอดสดในรูปแบบไลฟ์สตรีมมิ่ง www.facebook.com/bidc.fest  

3 สิงหาคม 2564 พิธีเปิดโครงการ Bangkok International Digital Content Festival 2021 ปีที่ 8 พร้อมการมอบรางวัลผลงานดีเด่น BIDC AWARDS ประจำปี 2021 ให้แก่ผู้ประกอบการไทยในกลุ่มอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนท์ ที่มีผลงานโดดเด่นในรอบปี โดยถ่ายทอดสด ในรูปแบบไลฟ์สตรีมมิ่งผ่าน www.facebook.com/bidc.fest  และเว็บไซต์ www.bidcfest.com

4-6 สิงหาคม 2564 การจัดเจรจาธุรกิจออนไลน์ ระหว่างผู้ประกอบการดิจิทัลคอนเทนท์ไทยและผู้ประกอบการดิจิทัลคอนเทนท์ชั้นนำจากทั่วโลก

ทั้งนี้การจัดงาน BIDC ต่อเนื่องมาสู่ปีที่ 8ได้รับการตอบรับอย่างมากจากผู้ประกอบการดิจิทัลคอนเทนท์ทั้งในและต่างประเทศโดยจากจำนวนผู้เข้าร่วมงานในทุกปีมากกว่า 287 บริษัท ซึ่งสร้างเม็ดเงินเข้าประเทศจากอุตสาหกรรมฯ หลายพัน ล้านบาทอีกทั้งในปีนี้เป็นปีแรกที่ทาง CEA ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนและส่งเสริมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ถือเป็นจิ๊กซอร์สำคัญที่ภาคอุตสาหกรรมได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐแต่ละภาคส่วน พร้อมเชื่อมั่นในศักยภาพอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ไทยจะเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยความร่วมมือและการส่งเสริมจากทุกภาคส่วน 


ข่าวประชาสัมพันธ์

วิวัฒนาการของแบรนด์ไทยสู่ตลาดโลก ในงาน STYLE Bangkok 2024

เตรียมตื่นตาตื่นใจกับหลากหลายแบรนด์ไทยที่ไปผงาดในเวทีตลาดโลก ในงาน STYLE Bangkok 2024 มหกรรมแสดงสินค้าไลฟ์สไตล์ชั้นนำของเอเชีย ระหว่างวันที่...

โวยวายดอทคอม