วันนี้ (6 มิ.ย. 65) เวลา 08.50 น. ดร.ชุติมา หาญเผชิญ รองเลขาธิการ ก.พ. และผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข ร่วมเป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกอบรม “โครงการการสร้างความสุขภาวะทางใจ เพื่อเป็น
ผู้สูงวัยที่มีคุณค่าและความสุข” ภายใต้โครงการทุนฝึกอบรมเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์พัฒนาประเทศ (Strategy-based) ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 สำหรับกระทรวงสาธารณะสุข
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้ ทักษะและประสบการณ์ในการทำงาน พร้อมทั้งเปิดมุมมอง และเพิ่มประสบการณ์ ให้กับผู้ได้รับทุนฯ รวมถึงได้ศึกษาตัวอย่างที่ดี (Best Practices) จากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน รวมทั้ง เพื่อสร้างเครือข่ายการทำงานระหว่างข้าราชการที่ปฏิบัติงาน เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. มิ่งขวัญ คงเจริญ หัวหน้าโครงการ กล่าวรายงานภาพรวมโครงการฯ ณ ห้องประชุมสิริเจ้าพระยา โรงแรมบัดดี้ โอเรียลทอล ริเวอร์ไซด์ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
การดำเนินโครงการฯ มีการออกแบบหลักสูตรภายใต้แนวคิด 4 แนวคิดเข้าด้วยกัน ได้แก่
แนวคิด “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” แนวคิด 7H “Home, Heart, Head, Hands, Hope, Habits, Harmony” แนวคิด Active Learning และแนวคิด Discovery Learning โดยการจัดการเรียนการสอนและการประเมินผลของโครงการ มีเกณฑ์ในการผ่านหลักสูตร และการได้รับประกาศนียบัตรเป็นไปตามที่สำนักงาน ก.พ. กำหนด ซึ่งมีระยะเวลาในการดำเนินโครงการ รวมทั้งสิ้นจำนวน 30 วัน โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 6 มิถุนายน 2565 จนถึง วันที่ 10 สิงหาคม 2565
หลักสูตรดังกล่าว ได้แบ่งโครงสร้างและเนื้อหาหลักสูตร เป็น 4 โมดูล ดังนี้
โมดูลที่ 1 การปรับและเสริมสร้างความรู้พื้นฐาน (Knowledge-based building) มีรูปแบบเป็นการบรรยาย การประชุมเชิงปฏิบัติการ และกรณีศึกษา
โมดูลที่ 2 การให้คำปรึกษาสำหรับการนำเสนอข้อเสนอการปรับเปลี่ยน หรือพัฒนางานเชิงนวัตกรรม มีรูปแบบเป็นการพบที่ปรึกษาแบบ Online เพื่อขอรับคำปรึกษาและข้อเสนอแนะในการจัดทำแผนงาน/โครงการที่ได้รับมอบหมาย
โมดูลที่ 3 การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และการนำเสนอข้อเสนอการปรับเปลี่ยน หรือพัฒนางานเชิงนวัตกรรม มีรูปแบบเป็นการจัดเวทีเสวนาวิชาการ และนิทรรศการ เพื่อนำเสนอโครงการที่จัดทำขึ้นตามที่ได้รับมอบหมาย
โมดูลที่ 4 การติดตามและการประเมินผลโครงการ มีรูปแบบเป็นการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการเรียนรู้ และกระบวนการปฏิบัติงานของผู้เข้าร่วมการอบรม