วันพุธที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

โครงการปั้นดาว ปี 2563 สสว. ผนึกกำลัง 4 มหาวิทยาลัยรัฐ ปั้นผู้ประกอบการให้เป็น “ดาว”

เร่งขยายธุรกิจหวังกระตุ้นการเติบโตแบบก้าวกระโดด

สสว. จับมือร่วมกับ 
ศูนย์แห่งความเป็นเลิศ(Excellence Center) จากมจพ.มช.มข.และมอ.จัดงานแถลงข่าวเปิด“โครงการปั้นดาว ปี 2563” เดินหน้าพัฒนาเชิงลึก แบบครบวงจร ให้ผู้ประกอบการSME และวิสาหกิจทั่วประเทศทุกระดับไม่น้อยกว่า 180 ราย ตั้งเป้าปั้นผู้ประกอบการดาวรุ่งได้ไม่น้อยกว่า 60 ราย คาดเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 40 ล้านบาท 
วันนี้ (27 พฤษภาคม 2563) มีการแถลงข่าว “โครงการปั้นดาว ปี 2563”ในรูปแบบวิดีโอ คอนเฟอเรนซ์ผ่านแพลทฟอร์มออนไลน์ ZOOM Meeting โดยได้รับเกียรติจากนายวีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)พร้อมด้วยผู้บริหารจากมหาวิทยาลัยพันธมิตรทั้ง 4 แห่งร่วมกัน
แถลงข่าว
 
นายวีระพงศ์ 
เปิดเผยว่าโครงการปั้นดาวเริ่มจัดขึ้นตั้งแต่ปี 2561 โดยได้บูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องส่งเสริมและเพิ่มศักยภาพให้ผู้ประกอบการสามารถขยายตัวทางธุรกิจได้แบบกระโดดโดยนำร่องจากวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดกาฬสินธุ์และแม่ฮ่องสอน ที่ใช้วัตถุดิบหรือภูมิปัญญาท้องถิ่นในการผลิตสินค้าหรือบริการจนได้อัตลักษณ์ของตนเอง และกลุ่มวิสาหกิจที่นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้หรือประยุกต์ใช้ในการผลิตสินค้าและบริการ เช่น กลุ่ม Startup และกลุ่มสินค้าศักยภาพในตลาดต่างประเทศซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี จึงขยายตัวเกิดเป็นโครงการส่งเสริมเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ในปี 2562โดยร่วมกับมหาวิทยาลัยพันธมิตรจัดตั้งศูนย์แห่งความเป็นเลิศ(Excellence Center)จำนวน 8 แห่งทั่วประเทศ ทำการพัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชนให้มีความเข้มแข็งทั้งด้านเกษตรและธุรกิจชุมชน เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 11.45 เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 317 ล้านบาท 



“ในปี
2563สสว.จึงร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ต่อยอดโครงการปั้นดาว ปี 2563ขยายพื้นที่ดำเนินงานให้ครอบคลุม 77 จังหวัดทั่วประเทศ โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ดูแลพื้นที่ครอบคลุม 26 จังหวัด ในกรุงเทพมหานคร ภาคกลาง และภาคตะวันออก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เน้นพื้นที่ 17 จังหวัดในภาคเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น20 จังหวัด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รับผิดชอบใน 14 จังหวัด ในภาคใต้” นายวีระพงศ์กล่าว



รายละเอียดกิจกรรมโครงการ 
กิจกรรมที่ 1ผู้ประกอบการที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการจำนวน 45 ราย/หน่วยร่วม เข้าการอบรมเชิงลึก หลักสูตรต่อเนื่องระยะเวลา 4 วัน ประกอบด้วย 
1.การอบรมเชิงลึกพร้อมรับคำแนะนำและข้อเสนอแนะจากที่ปรึกษา (Mentor) เพื่อจุดประกายความคิด เรื่องแนวคิดและแนวโน้มความต้องการของตลาดเพื่อปรับใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้า บริการ  หรือผลิตสินค้าและบริการใหม่ๆ
2. อบรมเชิงปฏิบัติ (Workshop) ใน 4 ประเด็น ได้แก่
- ฝึกทักษะเพิ่มมูลค่า ลดความสูญเสียหรือลดค่าใช้จ่ายของสินค้าหรือบริการ
- ฝึกทักษะเพิ่มศักยภาพช่องทางการตลาดออนไลน์ 
- พัฒนาปรับปรุง Facebook , Website พร้อมนำเสนอธุรกิจ
- การประเมินศักยภาพตนเอง (Self-Assessment) 
กิจกรรมที่ 2กิจกรรมการให้คำปรึกษาและพัฒนาเชิงลึก 3 ด้าน (ผู้ประกอบการสามารถเลือกพัฒนาได้เพียง 1 ด้าน)  ได้แก่  
1. การพัฒนาหรือสร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการ
          2. การออกแบบโดยใช้วิทยาศาสตร์ หรือ นวัตกรรมมาใช้เพื่อเพิ่มมูลค่า ลดความสูญเสีย ลดค่าใช้จ่ายหรือพัฒนา Brand/Logo/สื่อการตลาด 
          3. นำเทคโนโลยี เครื่องจักรหรือนวัตกรรมที่เหมาะสมมาใช้ในธุรกิจ เพื่อให้ได้มาตรฐานการผลิต การบริหาร หรือมาตรฐานสินค้าหรือบริการ
กิจกรรมที่ 3กิจกรรมส่งเสริมแนะนำในการสร้างช่องทางการค้า และสร้างโอกาสทางการค้า โดยคัดเลือกผู้ประกอบการที่มีศักยภาพหน่วยละ  15 ราย เข้าร่วมกิจกรรมการขายในตลาดจริงในช่วงเดือนกันยายน 2563
ผอ.สสว. เผยอีกว่า โครงการดังกล่าวมุ่งเน้นการดำเนินงานพัฒนาผู้ประกอบการเชิงลึก แบบเข้มข้นครบทุกด้าน ซึ่งคาดจะสามารถพัฒนาต่อยอดผู้ประกอบการและวิสาหกิจทุกระดับจำนวน 
180 ราย เกิดผู้ประกอบการดาวรุ่งไม่น้อยกว่า 60 ราย ที่สามารถขยายธุรกิจให้เติบโตได้แบบก้าวกระโดด สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ประมาณ40 ล้านบาท

ผู้ประกอบการที่ได้รับคัดเลือกจะได้รับการอบรมหลักสูตรต่อเนื่อง 3 วันประกอบการด้วยการอบรมเชิงลึก พร้อมที่ปรึกษา (
Mentor)  จุดประกายความคิดและอบรมเชิงปฏิบัติ (Workshop)4 ด้านการฝึกทักษะเพิ่มมูลค่า ลดความสูญเสีย ช่องทางการตลาดออนไลน์ และการประเมินศักยภาพตนเอง (Self-Assessment)  และเลือกพัฒนาสินค้าและบริการของตนเองแบบเชิงลึกได้อีก 1 ด้านเช่น การพัฒนาหรือสร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการ  การออกแบบ การใช้นวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่า ลดความสูญเสีย ลดค่าใช้จ่ายพัฒนาตราสินค้า สื่อการตลาด  มาตรฐานการต่างๆเป็นต้น ก่อนนำเข้าสู่การทดลองตลาดในช่วงเดือนกันยายน 2563

ติดตามความเคลื่อนไหวโครงการปั้นดาว ปี 2563ได้ทาง FacebookPage : Osmepสสว.







ข่าวประชาสัมพันธ์

ททท.เชียงราย เดินหน้าส่งเสริมการท่องเที่ยวสร้างความเชื่อมั่นเชียงรายเที่ยวได้

และเชิญชวนเที่ยวงาน “แอ่วเหนือม่วนใจ๋ ไป เชียงราย พะเยา ลำปาง ลำพูน” ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเชียงใหม่ แอร์พอร์ต ชั้น G วันที่ ๒๐-๒๒ กันยายน ๒๕...

โวยวายดอทคอม