กรุงเทพฯ 19 มิถุนายน 2568: นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ มอบเกียรติบัตรผลการคัดเลือก ผู้สร้างสรรค์งานศิลปหัตถกรรมคนรุ่นใหม่ ประจำปี 2568” (New Young Craft 2025) สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้มีความสามารถในงานศิลปหัตถกรรม สืบสาน รักษาองค์ความรู้ ภูมิปัญญาไทยให้ยังคงอยู่คู่สังคมจำนวน 10 คน ซิ่งประกอบด้วยผู้สร้างสรรค์งานจากหลายแขนง จัดโดยสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ สศท. รางวัล New Young Craft จัดขึ้นเพื่อให้โอกาสคนรุ่นใหม่ ได้แสดงศักยภาพทางความคิด ทักษะฝีมือ ในการสร้างสรรค์งานในรูปแบบที่มีความร่วมสมัยให้เข้ากับผู้คนในยุคปัจจุบัน

โดย สศท. ได้นำผลงานของผู้สร้างสรรค์งานศิลปหัตถกรรมคนรุ่นใหม่จัดแสดงและจัดจำหน่ายภายในงาน Craft Bangkok 2025 ที่ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ Hall 5 ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 22 มิถุนายน 2568 เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้ที่มีใจรักในงานศิลปหัตถกรรม ได้ร่วมสืบสาน และปรับประยุกต์องค์ความรู้ในงานศิลปหัตถกรรมไทย สร้างสรรค์เป็นงานหัตถกรรมร่วมสมัยที่เข้าถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่ได้มากขึ้น
สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ สศท. เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุนงานศิลปหัตถกรรมไทยของประเทศ โดยให้ความสําคัญในการส่งเสริมคุณค่า บุคคลผู้อนุรักษ์ สืบสานเพื่อรักษาคุณค่าภูมิปัญญาดั้งเดิมในศาสตร์และศิลป์เชิงช่าง เพื่อส่งต่อไปถึงคนรุ่นใหม่ได้เห็นคุณค่า และเกิดเป็นแรงบันดาลใจในการช่วยกันอนุรักษ์ รักษา สืบสาน รวมถึงการสร้างโอกาสทางการตลาดให้กับผู้สร้างสรรค์งานศิลปหัตถกรรม และ ยังให้ความสําคัญกับคนรุ่น ใหม่ ที่ได้นําเอาภูมิปัญญาดั้งเดิมมาปรับประยุกต์ ต่อยอดในงานศิลปหัตถกรรมไทย โดย สศท.ส่งเสริม บุคคล “ผู้สร้างสรรค์งานศิลปหัตถกรรมคนรุ่นใหม่” หรือ New Young Craftเพื่อให้โอกาสคนรุ่นใหม่ ได้แสดงศักยภาพทางความคิด ทักษะฝีมือ ในการสร้างสรรค์งานในรูปแบบที่มีความร่วมสมัยให้เข้ากับผู้คนในยุคปัจจุบัน นับเป็นการดําเนินงานที่ สศท. มุ่งมั่นให้ความสําคัญ และดําเนินการอย่างต่อเนื่อง สำหรับในปีนี้ พ.ศ. 2568 มีผู้ที่ได้รับการคัดสรร เป็นผู้สร้างสรรค์งานศิลปหัตถกรรมคนรุ่นใหม่” (New Young Craft 2025) จำนวน 10 คน ได้แก่


สืบทอดวิชาชีพงานหัตถกรรมท้องถิ่น สู่พัฒนาทางด้านรูปแบบและผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลาย จากเป็นผ้าผืน สู่การแตกลายงานเป็น สร้อยคอ ข้อมือ ต่างหู เสริมสร้างคุณค่างานหัตกรรม ด้วยการถอดเรื่องราวที่น่าสนใจในด้านวัฒนธรรมและวิถีชีวิต สู่การออกแบบและพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ ชุดห่มเงิน ที่สื่อถึงเรื่องราวการนุ่งห่มของหญิงสตรีในไทย
นางสาวณพกมล อัครพงศ์ไพศาล ประเภทงาน เครื่องดิน จังหวัดกรุงเทพมหานครสืบสานภูมิปัญญาเดิมและมีการพัฒนาและปรับเปลี่ยนให้เข้ากับยุคสมัยผ่านการสร้างสรรค์ใหม่ให้สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของคนเมือง ผสมผสานวัสดุใหม่เข้ากับเซรามิกพัฒนาเคลือบและเนื้อดินให้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
นางสาวอารียา บุญช่วยแล้ว ประเภทงานหัตถกรรม เครื่องปั้นดินเผา จังหวัดสมุทรปราการ
ผลงานออกแบบเครื่องประดับเซรามิกสืบทอดเทคนิคกระบวนการงานและให้ความสำคัญกับการรักษาแก่นของลวดลายงานหัตถกรรมไทยดั้งเดิม นำมาประยุกต์ใช้สร้างสรรค์ชิ้นงานในรูปแบบที่ทันสมัย ทำงานร่วมกับกลุ่มช่างฝีมือ เพื่อช่วยกัน ถ่ายทอด สืบทอดภูมิปัญญาไทยที่หลากหลายให้เป็นที่รู้จักในประเทศและระดับสากลมากขึ้น
นายนุรดิน แลหะ ประเภทงานหัตถกรรม บล็อคไม้บาติก จังหวัดปัตตานี
นำเอาลวดลายมลายูดั้งเดิมที่มีอยู่ในพื้นที่ ทั้งตามโบราณสถานและศาสนสถานมาออกแบบ ประยุกต์ ผสมผสานเข้ากับลวดลายสมัยใหม่ สร้างสรรค์ชิ้นงานที่มีความทันสมัย มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว แต่ยังคงมีกลิ่นอายของภูมิปัญญาคุณค่าและแนวคิดศิลปะดั้งเดิม
นางสาววิชชุลดา ปัณฑรานุวงศ์ ประเภทงานหัตถกรรม งานศิลปะจากวัสดุเหลือใช้ จังหวัดนนทบุรี
แบรนด์ WISHULADA เกิดจากแนวคิดอยากพัฒนาต่อยอดรูปแบบการจัดการขยะในรูปแบบที่ผสมผสานงานฝีมือ มาเพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม สร้างอาชีพให้กับคนในชุมชน สร้างสรรค์สิ่งของไร้ค่าให้เกิดประโยชน์ใหม่ ใช้วัสดุเหลือใช้ กว่า 40 ประเภท ใช้ทักษะฝีมือทุกขั้นตอน ด้วยฝีมือคนไทย 100%
นายวริศพล สีเทียม ประเภทงานหัตถกรรม ผ้าทอลายโบราณ“ภูสอยดาว” จังหวัดอุตรดิตถ์สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น “การทอผ้า ของชาวไท-ยวน ตำบลน้ำอ่าง อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์” ด้วยเทคนิคการทอ ดั้งเดิมของชาวไท-ยวนมาใช้สร้างผลงาน ใช้ลวดลายดั้งเดิมและลวดลายใหม่ และนำความเป็นสิริมงคล มาผสมผสานเพื่อเพิ่มเอกลักษณ์ให้แปลกใหม่ร่วมสมัยมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นขึ้น
นางสาวช่อฟ้า หงษ์สิทธิชัยกุล ประเภทงาน เครื่องประดับร่วมสมัย จังหวัดภูเก็ตถ่ายทอดเรื่องราวอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม ลวดลายต่างๆ ที่ปรากฏอยู่บนสถาปัตยกรรม การแต่งกาย เครื่องประดับ อุดมคติและความเชื่อต่างๆ ผสมผสานงานหัตถศิลป์ของชาวเพอรานากัน ได้แก่ การปักลูกปัด การพันดิ้นโบราณ การปักดิ้นโบราณเฉพาะเพื่อให้เข้ากับทิศทางการเปลี่ยนแปลงของตลาดยุคสมัยใหม่
นางสาวอดา กลิ่นบุญฟุ้ง ประเภทงานหัตถกรรม งานศิลปะการปั้นของจิ๋วเสมือนจริง จังหวัดกรุงเทพมหานครสืบสานคุณค่างานหัตถกรรมสะท้อนความเป็นไทยผ่านงานศิลปะการปั้นเสมือนจริงในรูปแบบของจิ๋ว เกี่ยวกับอาหาร และเครื่องดื่มไทย ด้วยวิธีการที่เรียกว่า “Freehand” ดึงรูปธรรมในยุค 80’s-90’s ผสมผสานกับรสนิยมความร่วมสมัยใช้การดีไซน์เป็นตัวเชื่อมความต่างให้กลายเป็นชิ้นงานที่ลงตัวได้อย่างสมบูรณ์
นายนพรุจ แซ่ลิ้ม ประเภทงานหัตถกรรม เสื่อจันทบูร จังหวัดจันทบุรี
แบรนด์ SUM MAT เป็นตัวแทนของความสมดุลระหว่าง ความดั้งเดิมและความร่วมสมัย สะท้อนเสน่ห์ของเสื่อจันทบูร นำเสื่อกกมาประยุกต์เข้ากับสินค้าไลฟ์สไตล์ อย่างกระเป๋า พาสปอร์ตเคส และของแต่งบ้าน ผลักดันให้เสื่อกกเป็นงานหัตถกรรมที่เข้ากับไลฟ์สไตล์ของคนยุคใหม่ง่ายขึ้น
นางสาวภัทรบดี พิมพ์กิ ประเภทงานหัตถกรรม ผลิตภัณฑ์จักสานร่วมสมัย จังหวัดจันทบุรีเครื่องประดับเสื่อกกจันทบูรถูกสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการที่ผสมผสานระหว่างงาน เชิงช่างด้านการทอเสื่อกกจันทบูร ร่วมกับตัวเรือนเครื่องประดับ มีการใช้เสื่อกกประกอบร่วมกับวัสดุอื่นๆ