
ผศ.ดร. อนุชา ทีรคานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย กล่าวว่า โครงการ International Craft Creation Concept Award 2025 หรือ I.CCA.2025 เป็นอีกหนึ่งในภารกิจของ SACIT ในการมุ่งเน้นพัฒนาศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถให้กับนักออกแบบไทย มุ่งเน้นการสร้างสรรค์ผลงานที่ผสมผสานเสน่ห์ของงานหัตถศิลป์แบบดั้งเดิมเข้ากับเทคนิคและวัสดุใหม่ ๆ ผ่านการพัฒนาในหลากหลายด้าน ทั้งในด้านเรื่องราว รูปแบบ และลวดลายให้เกิดเป็นผลงานร่วมสมัยที่ผสานเทคโนโลยี นวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ และภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสร้างการรับรู้ถึงการสืบสานและสร้างสรรค์งานหัตถศิลป์อย่างยั่งยืน และส่งเสริมการนำแนวคิดจากผลงานประกวดไปต่อยอดเชิงพาณิชย์ในระดับสากล ภายในกิจกรรมที่ผ่านมามีการส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมประกวดในโครงการฯ ได้แสดงศักยภาพด้านความคิดสร้างสรรค์และร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์งานออกแบบให้ตอบโจทย์จากนักออกแบบที่มีชื่อเสียงทั้ง 2 กลุ่ม ได้แก่
กลุ่ม Creative Craft Coach (นักสร้างสรรค์งานคราฟต์) และกลุ่ม Creative Community Curator (ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม) มาร่วมในกิจกรรม Craft Lab ทั้งในรูปแบบ Online และการเข้าร่วมกิจกรรม ณ สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (SACIT)
ดร.กรกต อารมย์ดี หนึ่งใน Creative Craft Coach ในโครงการฯ กล่าวว่า ผมเองรู้สึกยินดีที่เป็นโค้ช ในโครงการ International Craft Creation Concept Award ในปีนี้ ได้อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับ Concept
ของทั้งสองคนอย่างละเอียดและ เรียนรู้สิ่งที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมอธิบายออกมาให้เข้าใจ และพยายามที่จะสอดแทรกเอาเรื่องที่เป็นประโยชน์กับงานหัตถกรรม เช่น การลงไปดูวัสดุ คุณสมบัติ และการได้มาของวัสดุ ผนวกกับการทำงานของ ภูมิปัญญาทักษะความเป็นช่าง ให้นำมาสอดแทรกเข้าไปในเนื้อหาของผลงาน และพยายามที่จะให้เขาได้คลี่คลายฟอร์มให้กลายเป็นสิ่งใหม่ ความท้าทายที่สุดก็คือการประสานงานและการพูดคุยเพื่อให้เข้าใจตรงกัน การทำงานเป็นทีมจึงมีความสำคัญสำหรับงานที่ยิ่งใหญ่ การเข้าใจซึ่งกันและกัน การส่งความคืบหน้ากันเป็นสิ่งที่มีประโยชน์สำหรับการที่จะก้าวไปสู่การทำงานอย่างมืออาชีพในสาขาศิลปะ ตรงนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งที่เป็นประโยชน์มากสำหรับการเข้าร่วมโครงการแบบนี้มีที่ปรึกษาเข้ามาช่วยกันทำให้น้อง ๆ มีการทำงานอย่างเป็นระบบในรูปแบบของในสายอาชีพศิลปะครับ
คุณศุภชัย แกล้วทนงค์ Creative Craft Coach ในโครงการฯ กล่าวว่า มีความท้าทายในช่วงแรก ๆ และพอ
ได้เข้ามาสัมผัสก็เริ่มสนุกขึ้น โดยนักออกแบบทีมที่ยังเป็นนักศึกษาได้มีอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยและช่างไม้ระดับชั้นครูช่วย จนเราได้รวมทีมที่มีความแข็งแกร่งขึ้นมาได้ จากความเครียดเลยเป็นความท้าทายที่สนุก อีกทีมทำจากวัสดุที่คนมองข้าม อย่างยางพาราความท้าทายที่จะพายางพาราไปสู่งานที่มี่เพิ่มคุณค่า โจทย์จึงท้าทายยิ่งที่จะต้องหาคุณค่าในตัววัสดุ สู่คุณค่าใหม่
ดร.กฤษณ์ เย็นสุดใจ กล่าวถึงการได้มาร่วมเป็น Creative Craft Coach ในโครงการฯ กล่าวว่า เป็นเกียรติอย่างยิ่ง ที่ได้ที่ได้ร่วมงาน Creative Craft Coach ในโครงการฯ ICCA2025 ผลงานของผู้เข้าร่วมประกวดในทีมมีการแสดงศักยภาพ วิธีการคิดนอกกรอบจาก วัสดุ อุปกรณ์ เดิมทีมีอยู่ให้ได้แนวทางใหม่ และมีเทคนิค เชิงอนุรักษ์ แต่ใช้แนวคิดร่วมสมัยแบบ บูรณาการ โดยไม่ทำลายความดั้งเดิม ถือว่าเป็นการท้าทายอย่างมากคุณวิชชุลดา ปัณฑรานุวงศ์ กล่าวถึงการได้มาร่วมเป็น Creative Craft Coach ในโครงการฯ กล่าวว่า
ทีมวิชชุลดา ทางวิชชุลดา ดีใจและเป็นเกียรติอย่างมากที่ได้มาเป็นโค้ชในโครงการครั้งนี้ ไม่ใช่เพียงการแนะนำชิ้นงานให้กับนักออกแบบเท่านั้นแต่มองว่าเปรียบเสมือนการได้แลกเปลี่ยนแนวทางองค์ความรู้ด้วยกันร่วมกับผู้เข้าร่วมประกวด สำหรับทีมวิชชุลดา เราตั้งใจอยากให้นักออกแบบในทีมได้โชว์ศักยภาพ และนำเสนอความเป็นตัวเองได้เต็มที่ โค้ชในมุมมองของวิชชุลดาทำหน้าที่ให้นักออกแบบได้ประสบความสำเร็จดั่งใจฝัน ในลำดับแรกจึงให้ผู้เข้าร่วมเล่าสิ่งที่ตัวเองถนัด และสิ่งที่อยากทำ เราทำหน้าที่รับฟังจับประเด็นและหาแนวทางว่าทำอย่างไรให้สิ่งที่เขาต้องการออกมาสมบูรณ์แบบให้ได้มากที่สุดภายใต้ข้อจำกัดในเรื่องของเวลา สำหรับทีมของวิชชุลดาประกอบด้วย 2 ทีม คือ แบรนด์ครามพล และทีมปัทวี โดยครามพล มีจุดเด่นด้านการทำผ้า มีเชี่ยวชาญมากด้านการทำแฟชั่นและมีเทคนิคอันแพรวพราว สำคัญเลยของการประกวดครั้งนี้คือ ทำยังไงให้ครามพลมีความหลากหลายมากขึ้น โดยใช้ความสามารถด้านแฟชั่นไปประยุกต์ให้ได้กับทุกอย่าง และมีเรื่องเล่าที่น่าสนใจราวกับศิลปินกำลังสร้างสรรค์งานศิลปะลงบนผืนผ้า
ทีมปัทวี คือรองชนะเลิศของการประกวดเมื่อครั้งก่อน สิ่งสำคัญที่บอกกับน้องตลอด คือ จงเอาศักยภาพตนเองที่มีทำออกมาให้เต็มที่แต่ให้ต่างจากครั้งก่อน ให้มากที่สุดและที่สำคัญสำหรับทั้งสองทีมที่เราบอกตลอดคือจงหาข้อมูลให้มากที่สุด และกลั่นเอาข้อมูลข้อเท็จจริงที่อ้างอิงได้มาผสมผสานกับสิ่งที่เราทำ
ทำให้เรามีสตอรี่ ในการเล่าที่ชัดเจน และคงความเป็นของตัวเอง การประกวดครั้งนี้ไม่อาจรู้ได้ว่าทีมใดคือผู้ชนะ แต่อยากให้ทุกคนโชว์ศักยภาพของตนเองและเรียนรู้การเข้าร่วมมโครงการครั้งนี้อย่างเต็มที่
ผลสุดท้ายไม่อาจทราบได้เป็นอย่างไร แต่ประโยชน์ที่ทุกคนจะได้ คือระหว่างทางที่ทำงาน และเชื่อว่าทุกคนจะพัฒนาขึ้นจากเดิมอย่างแน่นอน
คุณศรุตา เกียรติภาคภูมิ กล่าวถึงการได้มาร่วมเป็น Creative Craft Coach ในโครงการฯ กล่าวว่า เป็นเกียรติอย่างยิ่งในการที่ได้เป็นโค้ชในการแข่งขันครั้งนี้ เนื่องจากได้มองเห็นคนรุ่นใหม่ใหม่ที่ยังคงรักในงานศิลปหัตถกรรมและมีความมุ่งมั่นที่สืบสานวัฒนธรรมดั้งเดิมของไทยให้เป็นงานสากลมากขึ้นเพราะตัวเราเองก็เคยเป็นเด็กตัวเล็กตัวน้อยในยุคหนึ่งที่จะต้องฝ่าฟันค้นหาเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ เพื่อที่จะได้พัฒนาเป็นคนทำงานสร้างสรรค์ การได้กลับมาเป็นโค้ชทำให้เรารู้สึกว่าเหมือนกับมาย้อนมองดูตัวเองในอดีตจึงอยากที่จะมอบความรู้ความสามารถที่เรามีให้กับรุ่นน้องรุ่นใหม่ใหม่ที่จะเติบโตเป็นนักธุรกิจเป็นคนทำงานศิลปะหัตถกรรมเชิงพาณิชย์ได้มากขึ้น ในการให้คำปรึกษาพบว่าผู้เข้าประกวดบางท่าน มีความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ตัวเองมีพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น จากความถนัดเดิมสู่การพัฒนาในแนวทางสร้างสรรค์ใหม่ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีสำหรับคนทำงานศิลปะเพื่อพัฒนาไปสู่ศิลปะที่เป็นงาน Art and craft ที่สามารถแสดงถึงความสร้างสรรค์และนำไปสู่ผลงานเชิงธุรกิจต่อเนื่องเป็นงานเชิงพาณิชย์ได้
ผู้ผ่านเข้ารอบ 10 ทีมสุดท้าย
• คุณช่อฟ้า หงษ์สิทธิชัยกุล ชื่อผลงาน Tom Yum Kung (Mongkhon) ต้มยำกุ้ง (มงคล)
• คุณสุจิตรา พาหุการณ์, คุณเพชรน้ำหนึ่ง เจริญภูมิ, คุณขนิฐา นารา ชื่อผลงาน วิถีใต้
• คุณศรัณย์ เหมะ, คุณเหมวรรณ ศรีสุวรรณ์ ชื่อผลงาน Light Hitting Water
• คุณภัทรบดี พิมพ์กิ ชื่อผลงาน เหลี่ยม/ทอ/ประกาย Brilliant Cut of Mat Gems
• คุณอภิเษก นรินท์ชัยรังษี ชื่อผลงาน โคมระย้าอัมพวา Amphawa Chandelier
• คุณปัทวี เข็มทอง ชื่อผลงาน มหัศจรรย์ใต้ท้องทะเล Under the Sea
• คุณรัฐพล. ทองดี, วัชรพล คำพรมมา ชื่อผลงาน ฮูปแต้ม Sim-i-san
• คุณอัรกาน หะยีสาเมาะ ชื่อผลงาน วาบุลัน Wabulan
• คุณสหรัฐ ศรีสมร ชื่อผลงาน เก้าอี้กนก Long Chair Ganok
• คุณถากูร เชาว์ภาษี ชื่อผลงาน พาราคราฟท์ PARA CRAFT
กิจกรรมการตัดสินผู้ชนะเลิศ และรองชนะเลิศ พร้อมการจัดนิทรรศการแสดงผลงานประกวด ณ สศท.
17 มีนาคม 2568 : ตัดสินผลงานรอบสุดท้ายและพิธีมอบรางวัล
17 - 21 มีนาคม 2568 : จัดนิทรรศการแสดงผลงาน ณ สศท.
รางวัล
รางวัลชนะเลิศ: เงินสด 150,000 บาท พร้อมโล่เกียรติคุณ
รางวัลรองชนะเลิศ: เงินสด 100,000 บาท
ติดต่อสอบถาม : ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
ดร.สุกานดา ถิ่นฐาน (ผู้ประสานงานโครงการ)
คุณเปี่ยมพร ฉายศรี (เจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์)
โทรศัพท์: 086 564 4666 / 088 931 5345 Email: contact.icca2025@gmail.com