เปียง รีแฮบบิลิเทชัน คลินิก (PYONGRehabilitation Clinic) คลินิกเฉพาะทางด้านเวชกรรม สาขาเวชศาสตร์ฟื้นฟู โดยอาจารย์ นายแพทย์ กันตพงศ์ ทองรงค์ ฉลองครบรอบ 1 ปีด้วยการจัด ‘Office Syndrome Summit 2024’ สุดยอดการประชุมเชิงสุขภาพสำหรับ ‘คนรักงาน’ ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งปี รวมแพทย์เฉพาะทางรุ่นใหม่ 6 คนในหลากหลายสาขา เพื่อร่วมเสวนาในประเด็นต่าง ๆ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการมีสุขภาพกายที่ดีซึ่งจะส่งผลต่อการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น โดยงานจัดขึ้นที่ห้องประชุมกระจก Crystal Box เกษร เออร์เบิน รีสอร์ท ชั้น 19เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมงานอย่างคับคั่ง
Office Syndrome Summit 2024 คือ การจัดงานครบรอบในรูปแบบใหม่ ที่สะท้อนความต้องการของ PYONG Rehabilitation Clinic นั่นคือเสริมสร้างสุขภาพที่ดีให้กับสังคมการทำงานของไทย โดยเฉพาะกลุ่มคนทำงานซึ่งถือเป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนสังคมและเศรษฐกิจ เพราะอาการออฟฟิศซินโดรมไม่ได้เป็นเพียงแค่การปวดคอ บ่า หรือไหล่อย่างที่คนส่วนใหญ่เข้าใจ แต่ยังรวมไปถึงระบบอื่น ๆ ทั้งร่างกายภายในงานจึงมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลจากทีมแพทย์เฉพาะทางรุ่นใหม่ 6 ท่าน ใน 6 ประเด็นที่เป็นประโยชน์และน่าสนใจ ได้แก่ อาการปวดกล้ามเนื้อ อาการปวดศีรษะ มลภาวะทางอากาศ การใช้ยาสามัญประจำบ้าน การดูแลดวงตา การนอนหลับ และปัญหาสุขภาพจิต โดยผู้เข้าร่วมงานยังสามารถปรึกษาปัญหาสุขภาพกับแพทย์เฉพาะทางได้โดยตรง เพื่อพูดคุยในประเด็นต่าง ๆ เช่น สาเหตุโรค อาการของโรค การดูแลที่เหมาะสม และการป้องกันไม่ให้เกิดโรคซ้ำ รวมไปถึงการทดลองรักษาจริงด้วยเครื่องมือกายภาพบำบัดสมัยใหม่กับทีมบุคลากรทางการแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
นายแพทย์ กันตพงศ์ ทองรงค์ แพทย์ผู้ก่อตั้ง PYONG Rehabilitation Clinic กล่าวว่า “กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและพังผืดเรื้อรัง หรือ ที่คนไทยเรารู้จักกันในชื่อ office syndrome เป็นสาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้ประสิทธิภาพและบรรยากาศในการทำงานแย่ลงครับ และผู้คนจำนวนมาก ยังไม่รู้ว่าจะต้องการจัดการกับปัญหาเหล่านี้อย่างไร และแน่นอนว่า หลายครั้งอาการสามารถรักษาได้ด้วยการปรับพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน และ การออกกำลังกายยืดเหยียดที่เหมาะสมและเพียงพอ ความรู้เป็นสิ่งสำคัญ เมื่ออาการดีขึ้น คุณภาพชีวิตของพวกเขาจะดีขึ้นตามมา”
สำหรับคนไทยมีความเสี่ยงในการเป็นออฟฟิศซินโดรมสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่มีอายุตั้งแต่ 16 – 44 ปี ซึ่งที่มาของอาการเกิดได้จากหลายสาเหตุ ตั้งแต่ การนั่งในรถหรือบนโต๊ะทำงานเป็นเวลานาน และอยู่กับจอคอมพิวเตอร์เป็นนานเกินไป การรักษาเบื้องต้นเริ่มได้ตั้งแต่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หรือปรึกษาแพทย์เฉพาะทางผู้มีความเชี่ยวชาญเพื่อวิเคราะห์และวางแผนการรักษาอย่างเหมาะสม