วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

กลุ่มผู้ผลิตอะลูมิเนียมอัดขึ้นรูปไทย จากผู้ผลิตกว่า 40 โรง วอนหน่วยงานภาครัฐ Anti-Dumping ตั้งกำแพงภาษีนำเข้าจากจีน

หลังตลาดจีนรุกคืบจนหลังชนฝา ชี้อุตสาหกรรมโดยรวมตกอยู่ในความเสี่ยงสูง เพียง 3-4 ปี ถูกแย่งส่วนแบ่งตลาดกว่า 30 % หวั่นเป็นวิกฤติยากแก้ไข

กลุ่มผู้ผลิตอะลูมิเนียมอัดขึ้นรูปไทย จากผู้ผลิตกว่า 40 โรง วอนหน่วยงานภาครัฐ Anti-Dumping ตั้งกำแพงภาษีนำเข้าจากจีน ต่อลมหายใจเศรษฐกิจผู้ผลิตไทย หลังพบมีการเพิ่มขึ้นจากการนำเข้ามีมาร์เก็ตแชร์ 10 % โตขึ้นมากเป็น 30 % ภายในเวลาเพียง 3-4 ปี ส่งผลกระทบด้านอุตสาหกรรมผู้ผลิตอะลูมิเนียมอย่างเด่นชัดแม้สู้จนหลังชนฝา โดยทั้งนี้ นายสุพัฒน์ รัตนศิริวิไล ตัวแทนกลุ่มผู้ผลิตฯ และกรรมการผู้จัดการบริษัท ไทยเม็ททอลอลูมิเนียม จำกัด นายโฆษิต สุขก้องวารี ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร บริษัท เมืองทองอุตสาหกรรมอาลูมิเนียม จำกัด นางสาวพิมพิชา ธรรมมาภรณ์พิลาศ กรรมการบริหาร บริษัท เมืองทองอุตสาหกรรมอาลูมีเนียม จำกัด และคุณ ชิณท์ณภัทร มหรัตนวิโรจน์ กรรมการ ผู้จัดการ บริษัท สยามอินทีเกรท เอ็กทรูสชัน อินดัสทรี จำกัด ร่วมกันแสดงความคิดเห็น 

นายสุพัฒน์ รัตนศิริวิไล ตัวแทนกลุ่มผู้ผลิตอะลูมิเนียมอัดขึ้นรูปไทย กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยเม็ททอล อะลูมิเนียม จำกัด เปิดเผยว่า กลุ่มผู้ผลิตอะลูมิเนียมอัดขึ้นรูปไทยเป็นกลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนอะลูมิเนียม ถือเป็นอุตสาหกรรมพื้นฐานที่สำคัญเพื่อส่งต่อให้อุตสาหกรรมใหญ่  ในเมืองไทยมีผู้ผลิต 40 กว่าโรงงานทั่วประเทศ มียอดขายทั้งสิ้นกว่าประมาณ 30,000 ล้านบาทต่อปี

ถึงไม่ใหญ่เท่าอุตสาหกรรมเหล็ก หากมีความสำคัญเป็นน็อตฟันเฟืองในระบบเศรษฐกิจที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งยวด เป็นชิ้นส่วนย่อยเป็นโลหะทางเลือก ใน งานยานยนต์ ขาเหยียบรถปิกอัพ ชิ้นส่วนอิเลคทรอนิคส์ ตัวครีบระบายความร้อนในแอร์ โครงสร้างอาคารต่างๆ งานอลูมิเนียมที่ใช้ทำเส้นประตูหน้าต่าง ด้วยคุณสมบัติมาตรฐานของอะลูมิเนียม คือน้ำหนักเบา ไม่เป็นสนิม ทำรูปร่างที่ซับซ้อนที่ขึ้นรูปได้ยาก แต่มีความแข็งแรงสูง

นายสุพัฒน์ รัตนศิริวิไล ตัวแทนกลุ่มผู้ผลิตอะลูมิเนียมอัดขึ้นรูปไทย กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยเม็ททอล อะลูมิเนียม จำกัด

การรวมตัวของกลุ่มผู้ผลิตอะลูมิเนียมอัดขึ้นรูปครั้งนี้ เกิดขึ้นเพื่อร่วมกันดำเนินการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดต่ออุตสาหกรรมอะลูมิเนียมอัดขึ้นรูปของไทย อันเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณของสินค้านำเข้าจากจีน และยังรวมกลุ่มกันเพื่อเป็นช่องทางการพัฒนากลุ่มร่วมกัน ในแง่การร่วมมือทางเทคโนโลยีการผลิตและการพัฒนาคุณภาพ 

โดยภัยคุกคามจากสินค้านำเข้าจากจีน มีการเพิ่มขึ้นจากการนำเข้าที่ขยับมาเก็ตแชร์ 10 % โตขึ้นมากเป็น30 % ภายในเวลาแค่ 3-4 ปี นับวันจะเติบโตเร็วขึ้น ไม่มีทางเลือกที่ต้องรวมตัวดำเนินการให้เข้าสู่ระบบกฏหมายที่พึงได้ ทุกวันนี้ทุกโ รงงานอยู่ได้ลำบาก ทั้งจากโควิด-19 ตลอด 2 ปีกว่า ยิ่งเจอเรื่องนี้ที่หนักข้อขึ้นทุกวัน ความสุ่มเสี่ยงที่ล้มหายตายจากก็เพิ่มขึ้นมากจริงๆถ้าไม่ได้รับการแก้ไขในวันนี้  

ทั้งนี้หวังว่า มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดจะเป็นมาตรการทางการค้า ที่ปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศให้เป็นไปอย่างเป็นธรรม หากปล่อยนานไปผลกระทบเชิงลบย่อมเพิ่มมากขึ้น จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องดำเนินการเปิดการไต่สวนการทุ่มตลาดจากจีน ที่ผ่านมาผู้นำเข้าได้ทุ่มตลาดอย่างหนักจนอุตสาหกรรมในประเทศได้รับความเสียหายอย่างมาก

นายสุพัฒน์ กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมามีการนำเข้าสินค้าแฝงและอลูมิเนียมอัดขึ้นรูปโดยตรง ผลจากราคาของจีนถูก ทำให้ผู้ผลิตไทยมีปัญหา ผลที่ได้ศึกษาข้อมูลตลาดภายในประเทศไทย ขนาดตลาดอยู่ประมาณแสนห้าหมื่นตันต่อปี ขณะที่ตลาดในจีนมีขนาดใหญ่มากถึง 20 ล้านตันต่อปี หากจีนเพียงตัดกำลังผลิตโยนมาที่ประเทศไทยแค่ 1 % ก็สองแสนตัน ผู้ผลิตไทยก็อยู่กันไม่ได้แล้วทั้งตลาด ความที่เขาไซส์ใหญ่มากกินได้หมด ทุกประเทศทั่วโลกถ้าเป็น developed economy อย่างเช่นพวกประเทศร่ำรวย อเมริกา ยุโรป ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์แคนาดา ยุโรป หรือ developing economy ในแถบบ้านเรามีเวียดนาม อิรัก เลบานอน ก็มี มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดนำเข้าจากจีนหมด ตอนนี้ทุกประเทศโดนผลเสียหายหนัก จึงทำให้มีการออกมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดอลูมิเนียมอัดขึ้นรูปจากจีนในหลายประเทศมากดังที่ยกตัวอย่าง

ประเทศไหนที่ไม่มีมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด ก็เหมือนไม่มีเขื่อนกั้น สินค้าจากจีนก็จะไหลเข้ามาในประเทศนั้น ๆ ไม่ใช่แค่ประเทศไทยที่เดียว ในอดีตไทยส่งออกไปลาว กัมพูชา พม่า จำนวนมาก ตอนนี้ก็โดนน้ำไหลจากจีน ส่งออกไปไม่ได้แล้ว นี้ก็บ่งอกถึงผลกระทบที่รุนแรง 

อยากขอให้รัฐบาลช่วยเหลือ โดยมีการยื่นเอกสารไปทางกองปกป้องการค้า กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์เพื่อพิจารณา Anti-dumping ให้เปิดไต่สวน การไต่สวนนี้เป็นไปตามกระบวนการของ WTO ถ้าประสบความสำเร็จ รัฐบาลก็จะสามารถออกมาตรการคุ้มครองได้ โดยมีการเปิดการไต่สวนตั้งแต่เดือน ธันวาคม ปีที่ผ่านมา


นางสาวพิมพิชา ธรรมมาภรณ์พิลาศ กรรมการบริหาร บริษัท เมืองทองอุตสาหกรรมอาลูมีเนียม จำกัด

มีประเด็นหนึ่งซึ่งหลายคนคัดค้าน ไม่อยากให้ตั้งกำแพงภาษี เพราะคิดว่าผู้บริโภคในประเทศใช้ของแพงขึ้น แต่ขอชี้แจงว่าในกลุ่มผู้ผลิตอะลูมิเนียมทุกบริษัท ต่างแข่งขันกันอย่างเสรี โดยสมบูรณ์ ทุกคนในเชิงธุรกิจนำเสนอกันทั้งด้านคุณภาพและราคาอยู่แล้วตรวจสอบได้

ถ้าตั้งกำแพงภาษีขึ้นมา ไม่ได้หมายความว่ากลุ่มผู้ผลิตในประเทศจะขึ้นราคาแพงได้ ไม่ใช่ลักษณะนั้น เราทำไม่ได้เพราะ เรามีผู้ผลิตในประเทศถึง 40 กว่าราย และแข่งขันกันอย่างรุนแรงอยู่แล้ว จะมาขึ้นราคาเอาเปรียบผู้บริโภค เป็นไปไม่ได้ผู้บริโภคไม่ได้เสียประโยชน์ ไม่มีใครเสียประโยชน์ แต่ถ้าไม่กันการนำเข้ามาแบบนี้ โรงงานในไทยตายหมดแน่นอน ทุกวันนี้ก็ระส่ำระสายกันอยู่แล้ว 

นางสาวพิมพิชา ธรรมมาภรณ์พิลาศ กรรมการบริหาร บริษัท เมืองทองอุตสาหกรรมอาลูมีเนียม จำกัด เปิดเผยว่า ผลกระทบที่ผ่านมา ไม่ใช่แค่อุตสาหกรรมอะลูมิเนียม แต่กระทบทั้งระบบ ซึ่งการซื้อขายจะมาทั้งชุด มีการกำหนดสเปคต้องสินค้าจีน ผู้รับเหมาจีน ช่างจีน การก่อสร้างมาทั้งระบบ แฝงเข้ามาจากสินค้าสำเร็จรูป เป็นกึ่งผูกขาดเบ็ดเสร็จ ทั้งที่การผลิตส่วนย่อยประเทศไทยสามารถซัพพอร์ตได้ เหมือนกับกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านที่โดนซื้อที่ดินแล้วก็จะถูกผูกมัดด้วยวิธีแบบนี้ 

กลุ่มผู้ผลิตจึงขอความเห็นใจไม่ใช่เฉพาะเป็นผู้เดือดร้อน ซึ่งอยากบอกว่า เมื่อไหร่ที่ประเทศพึ่งพาตลาดจีนจะถูกผูกขาด ไม่มีทางเลือกอื่นแล้ว คงไม่รู้ว่าจะขึ้นหรือไม่ขึ้นราคา แต่นอกเหนือจากการผลิตที่สามารถอยู่ได้ภายในประเทศ กลายเป็นว่าต้องพึ่งพา Outsource จากต่างประเทศ ถูกกว่าจริงแต่ไม่ได้ยั่งยืน เงินในอุตสาหกรรมไทยก็ใช้กับคนในประเทศ การสร้างงานในประเทศ ครอบครัวของคน แรงงาน กลุ่มอุตสาหกรรมผู้ผลิตรวมพนักงานเป็นหมื่น ผลกระทบมากมาย อย่ามองเพียงผู้บริโภคซื้อของราคาถูกแค่นั้น ในระยะยาวภายในประเทศจะกระทบแน่นอน เหมือนกับการถูกเชิญชวนด้วยสินค้าราคาถูก ดีไม่ดีอีกเรื่องหนึ่ง อยากให้พิจารณาว่า หนึ่งเป็นอุตสาหกรรมคนไทยที่มีการพัฒนาขึ้นมา ไม่ได้มาจากทุนต่างประเทศ ตลาดค่อนข้างอยู่ได้เพราะตัวมันเอง แต่ตอนนี้เจออุปสรรคใหญ่บริษัทคนไทยกำลังโดนโจมตีซ้ำเล่า มองกันว่าน่าจะกระทบกับการเติบโตของประเทศพอสมควร แต่ประเด็นนี้พูดไม่ได้  ทุกคนคงไม่อยากให้อุตสาหกรรมนี้ล่มสลายไป ปัจจุบันบริษัทต่างๆ ค่อยๆ ไล่ล้มไปเหมือนเงินศูนย์เหรียญ เงินไหลไปไหนกัน ไม่ได้เข้าประเทศเรา เท่ากับไม่ช่วยเศรษฐกิจ สังคมไทยก็ว่าได้   


นายสุพัฒน์ เสริมต่อว่า ธุรกิจผู้ผลิตอะลูมิเนียมที่ผ่านมาว่าจ้างพนักงานเป็นหมื่นคน ตอนนี้มีการลดจำนวนพนักงานลง เพราะขายของไม่ได้ ทำให้เริ่มเห็นสัญญาณที่ไม่ดีหลายๆอย่าง ที่ผ่านมายอมรับว่ารัฐบาลก็ได้ช่วยเหลือในระดับหนึ่ง คือการยอมรับการไต่สวน ก็คงจะต้องสู้กันด้วยข้อมูลต่อไปว่า สิ่งที่นำหลักฐานมาพิสูจน์ทั้งหมดถูกต้อง ไม่โกหก มีข้อมูลอ้างอิง ถึงการขายในประเทศเขาและประเทศเราเป็นอย่างไร ส่งข้อมูลไปทางกรมฯแล้ว ตอนนี้ก็อยู่ในขั้นตอนสืบพยาน

กลุ่มฯ คาดหวังว่า เมื่อไต่สวนจบคงได้รับชัยชนะ หากพบผู้ผลิตจากจีนมีการทุ่มตลาดจริง ต้องตั้งกำแพงภาษี ซึ่งตรงนี้เป็นไปตามกฏของ WTO รัฐบาลตั้งกำแพงภาษี โดยเราศึกษาทุกอย่างและดำเนินการภายใต้กฏหมาย เพื่อให้เห็นถึงความเดือดร้อนจริงๆที่อุตสาหกรรมอะลูมิเนียมแบกรับมาหลายปีแล้วจนทนไม่ไหวจริงๆ จีนเป็นผู้ผลิตต้นน้ำ มีแหล่งวัตถุดิบแหล่งแร่ภายในประเทศ 60% จากทั่วโลก จีนมองการณ์ไกล ปี 1990 ผลิตอะลูมิเนียมเพียงหนึ่งล้านตันต่อปี ปี 2022 ผลิตเพิ่ม 45ล้านตันต่อปี ไม่มีใครทำได้ อะลูมิเนียมทั้งโลกใช้ 70-75 ล้านตันต่อปี เขาทำคนเดียว 45 ล้านตัน ขยายการเติบโตแบบทุกคนตามไม่ทัน 

รัฐบาลจีนเก็บวัตถุดิบต้นทางที่ผลิตในประเทศได้ในราคาถูกจะไม่ส่งออก เขาจะเก็บ Export Tax ถ้าจะส่งออกวัตถุดิบ ดังนั้นจึงไม่เห็นว่ามีการส่งออกวัตถุดิบอะลูมิเนียมจากจีนเลย เพื่อเก็บไว้ใช้ในประเทศ แต่เมื่ออะลูมิเนียมถูกแปรรูปแล้วเป็น เส้นอัดขึ้นรูป เป็นแผ่น ค่อยส่งออก แล้วก็ให้ tax rebate คืนภาษีให้ผู้ส่งออกแทน อย่างเช่นกรณีตลาด Textile หนึ่งในอุตสาหกรรมไทยที่ถูกปัจจัยหลักจากการนำเข้าจากภายนอกประเทศทำให้ธุรกิจผ้าล่มสลายจำนวนมาก  ธุรกิจผ้า สมัยนี้ไปเดินดูได้ ไม่มีผ้าไทยอยู่ในสำเพ็งแล้ว ผู้ผลิตแทบปิดตายไปเกือบหมด เพราะไม่มีใครที่เป็นรายใหญ่เกิน 50 % ธุรกิจผ้าเคสจะคล้ายอะลูมิเนียม สมัยก่อนคึกคักมาก โบ๊เบ๊ ประตูน้ำ ต่างชาติแถบทวีปอาฟริกาแห่มาซื้อผ้าโหลที่นี่ คนไทยก็จะเป็นคนตัดเย็บ เดี๋ยวนี้มีนำเข้าจากจีนจำหน่ายในราคาถูกกว่าทั้งสิ้น 

นายสุพัฒน์ กล่าวต่อว่า เรื่องการส่งออก ตอนนี้อุตสาหกรรมอะลูมิเนียมของไทย มีส่งออกไปในประเทศที่ มีการตั้งกำแพงภาษีนำเข้าจากจีน และเพราะคุณภาพของสินค้าไทย ทำให้สามารถส่งออกได้ แต่ทางกลุ่ม ฯ ร่วมตัวทุกขนาดออกมาต่อสู้ด้วยความตั้งใจ ต้องการทำงานให้กับประเทศ อยากขายสินค้าคุณภาพดีในประเทศ ไม่ได้มองถึงการส่งออก  

ในฐานะผู้ผลิต บริษัทคนไทยมีการพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพที่ดี ถือเป็นอาวุธสำคัญ  ตอนเปิดไต่สวนก็เล่าให้เขาฟัง อยากให้รัฐบาลเห็นถึงความสำคัญของอุตสาหกรรมนี้ว่ามีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ ต่อการพัฒนาประเทศ เพียงแต่คนยังไม่เข้าใจและมองไม่เห็นว่า อุตสาหกรรมนี้เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่เป็นหนึ่งในฟันเฟืองสำคัญของอุตสาหกรรมในประเทศ สิ่งสำคัญคือ ต้องเข้าใจว่า ธุรกิจอุตสาหกรรมฯ นี้ ถือเป็นอุตสาหกรรมพื้นฐาน หากไม่มีจะส่งผลกระทบในระยะยาวอย่างแน่นอน 

ลูกหลานเราจะทำอย่างไรในอนาคตหากต้องพึ่งพาอุตสาหกรรมพื้นฐานนี้จากต่างประเทศ การผูกขาดการค้าจะเกิดขึ้น ธุรกิจจากคนไทยจะดำเนินไปอย่างไร ไม่เพียงแต่กลุ่มอุตสาหกรรมอะลูมิเนียมแต่หมายถึงอุตสาหกรรมต่างๆ ในบ้านเรา ที่ค่อย ๆ ล้มหาย ปิดกิจการตายไปอย่างเงียบๆ เพราะโดนทุ่มตลาด 

นายชิณท์ณภัทร มหรัตนวิโรจน์ กรรมการ ผู้จัดการ บริษัท สยามอินทีเกรท เอ็กทรูสชัน อินดัสทรี จำกัด

นายชิณท์ณภัทร มหรัตนวิโรจน์ กรรมการ ผู้จัดการ บริษัท สยามอินทีเกรท เอ็กทรูสชัน อินดัสทรี จำกัด เล่าว่า ผู้บริหารรุ่นลูกที่มาสานต่อธุรกิจจากครอบครัวซึ่งกำลังถูกผลกระทบอย่างหนัก เปิดเผยว่าในฐานะเป็นผู้ผลิตอะลูมิเนียมตัวบาง ตัวเล็ก โดนผลกระทบจากจีนที่นำเข้ามาจากการตัดราคาโดยตรง ผลกระทบหนักมากประมาณ 3 ปีมาแล้ว 

ยอมรับว่าที่ผ่านมาได้เห็นผลกระทบชัดเจนมากเพิ่มขึ้นตลอดที่ผ่านมา เคยผลิตจากโรงงาน 40-50 ตัน ถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับโรงงานใหญ่ แต่ปัจจุบันเหลือเพียง 10 ตัน เคยสอบถามจากตัวแทนจำหน่ายที่สั่งสินค้าจากบริษัทฯ ได้รับแจ้งว่า ตอนนี้นำเข้าจากจีนราคาถูกกว่า ทำให้ตลาดขยายได้เร็ว นี่ส่งผลให้ทางออกของผู้ผลิตแคบลงไปด้วย นับว่ากลุ่มผู้ผลิตฯรวมตัวขึ้นนี้ เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยสนับสนุนช่วยเหลือรายย่อยรายเล็ก ที่สำคัญขอให้รัฐบาลมองเรื่องนี้รับรู้ความเสียหายที่ถูกซ้ำเติมมานานหลายปี ขอให้ช่วยเหลือก่อนสายเกินไป

ทางกลุ่มผู้ผลิตอะลูมิเนียมอัดขึ้นรูปไทย มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาธุรกิจให้เติบโตก้าวหน้าพร้อมกับคืนกำไรสู่ชุมชนและสังคม ด้วยการใช้ทรัพยากรในองค์กรผ่านกิจกรรม CSR เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหา ยกระดับคุณภาพชีวิต เคียงข้างชาวไทยมากว่า 40 ปี



หมายเหตุ **
กิจกรรมของกลุ่มผู้ผลิตอะลูมิเนียมอัดขึ้นรูปไทยกลุ่มผู้ผลิตอะลูมิเนียมอัดขึ้นรูปไทย มีการจัดกิจกรรม CSR เพื่อตอบแทนสังคมไทยอย่างต่อเนื่อง ครอบคลุมในทุกมิติ เริ่มตั้งแต่นโยบายการจ้างงานที่เป็นธรรม รวมไปถึงโครงการต่างๆ ที่จัดทำร่วมกับภาครัฐ องค์กรการกุศล โรงเรียน โรงพยาบาล รวมถึงกิจกรรมชุมชนสัมพันธ์ที่จัดร่วมกับคนในชุมชนเพื่อตระหนักถึงธรรมาภิบาลด้านสิ่งแวดล้อม

ที่ผ่านมา บริษัทในกลุ่มฯ มีการบริจาคทุนทรัพย์ อุปกรณ์การแพทย์ น้ำดื่มและสิ่งของอุปโภคบริโภค ให้กับโรงพยาบาลมากกว่า 10 แห่ง รวมถึงกลุ่มผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส ผู้ประสบอุทกภัย และผู้ป่วยติดเชื้อโควิด เป็นมูลค่ามากกว่า 10 ล้านบาท โดยส่วนหนึ่งเกิดจากการนำอลูมิเนียมอัดขึ้นรูปมาแปรรูปต่อ เช่น จัดทำโต๊ะ-เก้าอี้ ประตู-หน้าต่างสำเร็จรูป เพื่อบริจาคให้กับโรงเรียน หรือโรงพยาบาลที่ขาดแคลน


รายชื่อกลุ่มผู้ผลิตอะลูมิเนียมอัดขึ้นรูปไทย 

1.บริษัท ยูไนเต็ดอลูมิเนียม อินดัสตรี้ จำกัด

2.บริษัท ไทยเม็ททอล อลูมิเนียม จำกัด

3.บริษัท เมืองทองอุตสาหกรรมอาลูมีเนียม จำกัด

4.บริษัท ซิมเมอร์ เมตัล สแตนดาร์ด จำกัด

5.บริษัท โกลด์สตาร์เมททอล จำกัด

6.บริษัท อลูเม็ท จำกัด

7.บริษัท แอลเมทไทย จำกัด

8.บริษัท ฟูจิเมททอล จำกัด

9.บริษัท บีจี โฟลต กล๊าส จำกัด

10.บริษัท มหานครมิทอล จำกัด

11.บริษัท ไทยอลูเวิร์ค จำกัด

12.บริษัท สยามอินทีเกรทเอ็กทรูสชั่นอินดัสทรี จำกัด

13.บริษัท พี.แอนด์.แอล แมนูแฟคเตอร์ริ่ง จำกัด

14.บริษัท ธาราทองเมททอล จำกัด




ข่าวประชาสัมพันธ์

วิวัฒนาการของแบรนด์ไทยสู่ตลาดโลก ในงาน STYLE Bangkok 2024

เตรียมตื่นตาตื่นใจกับหลากหลายแบรนด์ไทยที่ไปผงาดในเวทีตลาดโลก ในงาน STYLE Bangkok 2024 มหกรรมแสดงสินค้าไลฟ์สไตล์ชั้นนำของเอเชีย ระหว่างวันที่...

โวยวายดอทคอม